งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

โครงการศึกษาความสัมพันธ์เชิงอำนาจในระบบรัฐสภาไทย

ระบอบประชาธิปไตย 24 พฤศจิกายน 2565



โครงการศึกษาความสัมพันธ์เชิงอำนาจในระบบรัฐสภาไทย

นักวิจัย นายปุรวิชญ์ วัฒนสุข , นางณัชชาภัทร อมรกุล
วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า 
กันยายน 2565

         วัตถุประสงค์ของงานวิจัยฉบับนี้คือ เพื่อศึกษาระบบรัฐสภาในเชิงเปรียบเทียบทั้งในด้านโครงสร้าง พัฒนาการ หลักการและข้อถกเถียง เพื่อศึกษาพัฒนาการของระบบรัฐสภาในประเทศไทย ทั้งในมิติโครงสร้าง หลักการ และข้อถกเถียง นับตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน และเพื่อนาเสนอรูปแบบของระบบรัฐสภาที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย

          ผลของการวิจัยพบว่า พัฒนาการของรูปแบบของระบบรัฐสภาในประเทศไทยนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มีลักษณะสลับไปมาระหว่างระบบสภาเดียวและระบบสองสภา และสลับไปมากับห้วงเวลาที่ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย มีการเลือกตั้ง และในห้วงเวลาที่อยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการตามหลักประชาธิปไตยที่ต้องให้สิทธิทางการเมืองแก่ประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมือง และได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมจนกระทั่งเกิดความคุ้นเคยต่อการใช้สิทธิทางการเมืองที่ตนเองมีอยู่จนในที่สุดเกิดเป็นความเชื่อมั่นต่อพลังทางการเมืองตามหลักประชาธิปไตยของตนเอง ตลอดจนเกิดความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนกับตัวแทนในระบบรัฐสภาที่จำเป็นต้องมีความรับผิดชอบทางการเมืองตอบสนองต่อเสียงความต้องการของประชาชนเป็นหลัก ซึ่งทั้งหมดนี้จึงจะนาไปสู่หลักการที่สำคัญกว่าการแพ้หรือชนะในการลงมติรัฐสภา นั่นก็คือ ความเข้มแข็งของหลักการประชาธิปไตยที่จะฝังรากลึกในสังคมการเมืองไทยที่กำลังเติบโตต่อไปในภายภาคหน้าในที่สุด

โครงการศึกษาความสัมพันธ์เชิงอำนาจในระบบรัฐสภาไทย (60 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

ทัศนะของผู้ประสานการประชุมที่มีต่อกระบวนการยุติธรรม

ดาวน์โหลด 4 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

บทบาทของผู้นำต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน

ดาวน์โหลด 95 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การวัดระดับความเป็นประชาธิปไตยและพฤติกรรมการเลือกตั้งฯ

ดาวน์โหลด 132 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า