งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

การเมืองอัตลักษณ์ของชุมชนมุสลิมอัต-ตักวา (วัดเกต) เชียงใหม่ภายใต้กระแส “ความหวาดกลัวอิสลาม”




ชื่อเรื่อง การเมืองอัตลักษณ์ของชุมชนมุสลิมอัต-ตักวา (วัดเกต) เชียงใหม่ภายใต้กระแส “ความหวาดกลัวอิสลาม”
Identity Politics of the Attaqwa Islamic Community (Wat Gate) Chiang Mai in the Context of “Islamophobia”
โดย นายสุเชน เลิศวีระสวัสดิ์
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา) คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2561

       การศึกษาเรื่องการเมืองอัตลักษณ์ของชุมชนมุสลิม อัต-ตักวา (วัดเกต) เชียงใหม่ภายใต้กระแสความหวาดกลัวอิสลาม มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและพัฒนาการของความหวาดกลัวอิสลามในพื้นที่ชุมชนวัดเกตว่ามีการเข้ามาของกระแสดังกล่าวอย่างไรและมีรูปแบบใดบ้าง 2) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างและปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของชุมชนมุสลิม อัต-ตักวา จากกระแสความหวาดกลัวอิสลามที่เป็นปรากฏการณ์ในระดับโลกและในประเทศไทยก็มีหลายเหตุการณ์ที่อาจส่งผลให้กระแสดังกล่าวกระจายตัวทั่วประเทศได้ ซึ่งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ก็มีกระแสความหวาดกลัวอิสลามเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในพื้นที่อำเภอดอยหล่อ อำเภอสันกำแพงและพื้นที่ชุมชนต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นมาของชุมชนมุสลิมในพื้นที่ นอกจากนี้ยังศึกษากระบวนการสร้างพื้นที่ทางสังคมพหุวัฒนธรรมในชุมชนวัดเกต เนื่องจากเป็นพื้นที่หลากวัฒนธรรมที่มีปฏิสัมพันธ์กันอยู่ตลอดเวลา ภายใต้การเข้ามาของกระแสความหวาดกลัวอิสลามในพื้นที่ชุมชนวัดเกต นำไปสู่ข้อถกเถียงว่าชุมชนวัดเกตจะมีกระบวนการและกลไกในการสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมในชุมชนโดยผ่านการต่อรองกับทั้งชุมชน รอบข้างและอำนาจรัฐอย่างไร

การเมืองอัตลักษณ์ของชุมชนมุสลิมอัต-ตักวา (วัดเกต) เชียงใหม่ภายใต้กระแส “ความหวาดกลัวอิสลาม” (59 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการกระจายรายได้ของกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางและความเกี่ยวข้องของดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาล : การสร้างแนวทางลดความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยตามหลักสากล

ดาวน์โหลด 175 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

รายงานเรื่อง การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2543 จังหวัดสงขลา

ดาวน์โหลด 6 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การเคลื่อนไหวทางการเมืองของสมาพันธ์ครูเชียงใหม่...(โดยทุนสนับสนุนจากสถาบัน)

ดาวน์โหลด 24 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า