งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาว่าด้วย “สันติวิธี” ของภาคประชาสังคมชายแดนใต้ ระหว่างทศวรรษ 2470 ถึง 2550




ชื่อเรื่อง ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาว่าด้วย “สันติวิธี” ของภาคประชาสังคมชายแดนใต้ ระหว่างทศวรรษ 2470 ถึง 2550 
(AN INTELLECTUAL HISTORY OF NON-VIOLENCE AMONG CIVIL SOCIETY IN THAILAND’S SOUTHERN BORDER PROVINCES BETWEEN 1920s-2010s)
โดย นายสัมพันธ์ วารี
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2561

    งานวิจัยชิ้นนี้ได้ทำการศึกษาประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาว่าด้วย “สันติวิธี” ของภาคประชาสังคมชายแดนใต้ ระหว่างทศวรรษ 2470 ถึง 2550 ด้วยแนวทางการศึกษา “ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญา” โดยมีวัตถุประสงค์คือ 
1) ศึกษาและอธิบายพัฒนาการการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมชายแดนใต้ในแนวทางสันติวิธีระหว่างทศวรรษ 2470 ถึงทศวรรษ 2550 
2) ศึกษาและอธิบาย “ปัจจัย” ที่นำมาสู่กระบวนการก่อตัว ปรับใช้ รวมถึง
ส่งต่อภูมิปัญญาว่าด้วยสันติวิธีของภาคประชาสังคมชายแดนใต้ระหว่างทศวรรษ 2470 ถึงทศวรรษ 2550 และ 
3) ศึกษาและอธิบาย “ลักษณะ” ของภูมิปัญญาว่าด้วยสันติวิธี และ “กระบวนการ” ก่อตัว ปรับใช้ รวมถึง
     ส่งต่อภูมิปัญญาว่าด้วยสันติวิธีของภาคประชาสังคมชายแดนใต้ที่เกิดขึ้นระหว่างทศวรรษ 2470 ถึงทศวรรษ 2550 ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 4 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงแรก ภาคประชาสังคมชายแดนใต้ในช่วงทศวรรษ 2470 ถึงทศวรรษ 2490 ช่วงที่สอง ภาคประชาสังคมชายแดนใต้ในช่วงทศวรรษ 2500 ถึงทศวรรษ 2510 ช่วงที่สาม ภาคประชาสังคมชายแดนใต้ตั้งแต่ทศวรรษ 2520 ถึงก่อนเหตุการณ์ความไม่สงบระลอกใหม่ พ.ศ.2547 และช่วงที่สี่ ภาคประชาสังคมชายแดนใต้หลังเหตุการณ์ความไม่สงบระลอกใหม่ พ.ศ.2547 ถึงทศวรรษ 2550

ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาว่าด้วย สันติวิธี (38 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

แนวทางการพัฒนาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในชุมชนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาตำบลบางตะบูนออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

ดาวน์โหลด 237 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การศึกษาเปรียบเทียบรัฐสภาของประเทศในภูมิภาคเอเชีย : กรณีศึกษาสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

ดาวน์โหลด 33 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

แนวทางการเสริมสร้างการเมืองภาคพลเมืองบนพื้นฐานประชาธิปไตยในจังหวัดขอนแก่น

ดาวน์โหลด 84 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า