งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

การพัฒนาตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองในภาคประชาสังคม: กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดเชียงราย ศรีสะเกษ และ นครศรีธรรมราช




ชื่อเรื่อง การพัฒนาตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองในภาคประชาสังคม: กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดเชียงราย ศรีสะเกษ และ นครศรีธรรมราช
ชื่อผู้วิจัย ศรัณยุ หมั้นทรัพย์
ปีงบประมาณ 2556 2557
สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง

         การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองในภาคประชาสังคมที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของพื้นที่ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สังเคราะห์ตัวชี้วัด และ วิเคราะห์องค์ประกอบตัวชี้วัดความเป็นพลเมือง โดยใช้แนวคิดพลเมือง 3 แบบของ Joel Westheimer และ การพัฒนาที่มีพื้นที่และชุมชนเป็นฐาน เป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำชุมชนและภาคประชาสังคมใน 3 จังหวัดเป้าหมาย จำนวน 180 คน ผลการวิจัยพบว่า พลเมืองไทยให้ความสาคัญกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจแบบลำดับสูง ต่างยึดติดกับความเชื่อ พึ่งพิง และยอมรับสภาพเมื่อเกิดปัญหามากกว่าการให้ความสาคัญกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเสมอภาคเท่าเทียม พลเมืองไทยจึงมีลักษณะพึ่งพิงและขาดความมั่นใจในตน สำหรับภาคประชาสังคมในทั้ง 3 พื้นที่ต้องการพลเมืองที่มีคุณลักษณะ 6 ประการ คือ 1) มีจิตสาธารณะ 2) รู้เรื่องสิทธิ เสรีภาพ และมีสำนึกทางการเมือง 3) มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัยและปฏิบัติตามข้อตกลงของส่วนรวม 4) รับฟังความคิดเห็นและเคารพในความเสมอภาคเท่าเทียม 5) มีวิสัยทัศน์ และสร้างนวัตกรรม 6) จัดการตนเองและพึ่งตนเองได้ และพัฒนาตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองได้ 3 แบบ คือ 1) พลเมืองฐานราก ประกอบด้วย 21 องค์ประกอบของลักษณะพื้นฐานที่พลเมืองต้องมีและพึงปฏิบัติในฐานะพลเมืองของรัฐ 2) พลเมืองที่มีส่วนร่วม ประกอบด้วย 25 องค์ประกอบของการมีส่วนร่วมในทุกระดับ ทั้งในสาธารณะและในทางการเมือง และ3) พลเมืองตระหนักรู้ ประกอบด้วย 21 องค์ประกอบทางความคิดอุดมการณ์ ความเชื่อ และทัศนคติที่ส่งเสริมประชาธิปไตย และตระหนักในความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยแบบสอบถามคุณลักษณะความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยในภาคประชาสังคม มีความตรงตามเนื้อหาและความเชื่อมั่น Cronbach’s Alpha ที่ 0.96

การพัฒนาตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองในภาคประชาสังคม (79 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

กระบวนการสร้างสันติภาพโดยกลุ่มผู้หญิงท่ามกลางสถานการณ์ความรุนแรงในภูมิภาคเอเชีย

ดาวน์โหลด 48 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

กระบวนการเลือกตั้งและปัจจัยในการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ดาวน์โหลด 134 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต

ดาวน์โหลด 10 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า