งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนเพื่อการเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย




ชื่อเรื่อง การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนเพื่อการเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย
โดย นางสาวณัฏฐกาญจน์ ศุกลรัตนเมธี,นางสาวนุชประภา โมกข์ศาสตร์
สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนเพื่อการเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย โดยที่ “เยาวชน” ในการศึกษาครั้งนี้หมายถึงผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยด้วยการศึกษาเอกสาร การสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการศึกษาแบ่งตัวชี้วัดการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนในสังคมประชาธิปไตยออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ การรับข้อมูลเข้า และการส่งข้อมูลออก โดยตัวชี้วัดในกลุ่ม “การรับข้อมูลเข้า” ประกอบด้วย 1) ทักษะในการเข้าถึงข้อมูล (Access) คือ สามารถเลือกรับข้อมูลข่าวสารและสื่อการเมืองจากแหล่งที่หลากหลาย 2) ทักษะในการวิเคราะห์และประเมินข้อมูล (Analyze and Evaluate) คือสามารถแยกความจริงออกจากความเห็น สามารถวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูล และ 3) การตระหนักในหน้าที่พลเมือง คือสามารถร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อพบเห็นการทาผิดกฎหมาย ส่วนตัวชี้วัดในกลุ่ม “การส่งข้อมูลออก” ประกอบด้วย 1) ทักษะในการผลิตสื่อ (Create) คือสามารถเลือกวิธีการนำเสนอที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ 2) การมีส่วนร่วม (Participate) ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ตามบรรทัดฐานพลเมือง คือการเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างการโต้แย้งโดยใช้หลักเหตุและผล การใช้ภาษาแบบสันติวิธี ไม่ใช้ถ้อยคาดูหมิ่นผู้อื่น การนำเสนอหรือแชร์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม และ 3) การรู้สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบตามกฎหมาย คือไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทาร้ายหรือละเมิดผู้อื่น ไม่สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ (Copyright) และต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมอันเกิดจากการกระทำของตน มีจำนวนตัวชี้วัดรวมทั้งสิ้น 25 ตัวชี้วัด (การรับข้อมูลเข้า 8 ตัวชี้วัด และการส่งข้อมูลออก 17 ตัวชี้วัด)


การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ฯ-02 (189 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “การรับรู้ของคนไทยต่อการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2020”

ดาวน์โหลด 29 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

ประชาสังคมท้องถิ่น (Local Civil Society)

ดาวน์โหลด 48 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การบริหารงานที่เป็นเลิศขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี 2562 (Best Practices) กรณีศึกษา การอนุรักษ์เมืองเก่า เทศบาลเมืองลำพูน จ.ลำพูน

ดาวน์โหลด 174 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า