งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

สันติวัฒนธรรมในพรรคการเมือง กรณีศึกษาพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์




เรื่อง สันติวัฒนธรรมในพรรคการเมือง กรณีศึกษาพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์
โดย อภิญญา ดิสสะมาน และ ชลัท ประเทืองรัตนา
สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า

         งานวิจัยเรื่อง “สันติวัฒนธรรมในพรรคการเมืองเพื่อเสริมสร้างกระบวนการปรองดองของประเทศ” เป็นการสำรวจและขับเคลื่อนภายใต้บริบททางการเมืองที่กำลังจะเข้าสู่สนามเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 นับจากประเทศไทยได้เกิดภาวะวิกฤตการณ์ทางการเมือง ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อประเทศชาติและประชาชนพลเมืองไทย เป็นอย่างมาก ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีความแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายของผู้คนในสังคม ความขัดแย้งทางการเมืองเริ่มก่อตัวขึ้นอย่างชัดเจนหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา วิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในห้วงระยะเวลาเกือบ 10 ปี จวบจนปัจจุบันนั้น สะท้อนให้เห็นชุดความคิด (Mind set) ที่แตกต่างกันของทั้งสองฝ่ายทางการเมืองอย่างชัดเจนคือ โดยความขัดแย้งทางการเมืองของ ประเทศไทยนั้น แต่ละฝ่ายได้หยิบยกความชอบธรรมเพื่อให้ประชาชนแต่ละฝ่าย ลุกขึ้นต่อสู้เพื่อชัยชนะที่ตนยึดมั่นโดยใช้วาทกรรมในการปลุกกระดมต่อสู้ เช่น การโค่นล่มรัฐบาลที่มาจากอำนาจเผด็จการการล้มรัฐบาลระบอบทักษิณ เป็นต้น สิ่งที่ตามมาคือการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ปัจจุบันความขัดแย้ง ทางการเมืองยังฝังรากอยู่ในสังคมไทยและยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง หรือการค้นหา

         กระบวนการหาทางออกอย่างยั่งยืนร่วมกัน ภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติอันมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นหัวหน้าคณะและรัฐบาลที่นาโดยพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา พยายามที่จะสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการจัดให้มีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีการกำหนดระยะเวลาไว้ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 ภายหลังรับประหารเกือบ 5 ปี ระยะทางประชาธิปไตยของประเทศจะดำเนินไปเป็นอย่างไรเป็นเรื่องที่น่าขบคิดทางวิชาการและเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับการค้นคว้าวิจัยทางการเมืองไทย

สันติวัฒนธรรมในพรรคการเมือง (83 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในฐานะปัจจัยขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความรุนแรง : สานึกของความเป็นพลเมืองที่สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะทางสังคมและวัฒนธรรม

ดาวน์โหลด 111 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการด้านการศึกษาในชุมชนภาคใต้

ดาวน์โหลด 41 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การรับรู้ต่อการเมืองไทย พ.ศ. 2548-2559 กับ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง Generation Y กรณีศึกษานักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ 5 ภาค

ดาวน์โหลด 93 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า