งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย

ระบอบประชาธิปไตย 07 กุมภาพันธ์ 2565



เรื่อง แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
โดย สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Thammasat University Research and Consultancy Institute
เสนอต่อ สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า

              รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์เรื่อง “แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย” ฉบับนี้นำเสนอข้อค้นพบจากการศึกษาตามข้อกำหนดโครงการในชื่อเรื่องเดียวกันซึ่งเป็นไปตามกรอบดำเนินการ ขอบเขตและวัตถุประสงค์การศึกษาที่ได้ระบุในขอบเขตงานเบื้องต้น (Term of Reference: TOR) และข้อเสนอโครงการวิจัยฯ ซึ่งแนบท้ายสัญญาจ้างผู้เชี่ยวชาญรายบุคคลหรือจ้างบริษัทที่ปรึกษา เรื่อง แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย (สัญญาเลขที่ พป 083/2564 ลงวันที่ 5 พฤษภาคม 2564) โดยหลังจากที่ใช้เวลาดำเนินการศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์ตามกรอบเวลาที่กำหนดแล้ว จึงได้มีการจัดทำรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์นี้ โดยประกอบไปด้วยเนื้อหา 6 บท อันประกอบด้วย บทที่ 1 ความเป็นมาและกรอบการศึกษา บทที่ 2 การวิเคราะห์ผลกระทบในกฎหมายปัจจุบัน บทที่ 3 การวิเคราะห์ผลกระทบด้านสังคมในระดับสากล บทที่ 4 แนวทาง วิธีการและตัวอย่างการดำเนินการเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในต่างประเทศ บทที่ 5 ถอดบทเรียนสู่การวิเคราะห์กรณีศึกษาในบริบทประเทศ

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย (34 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

กระบวนการเป็นผู้นาแบบทางการและการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขา กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ดาวน์โหลด 113 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

รูปแบบการประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมือง ภาคพลเมือง

ดาวน์โหลด 82 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

ความพร้อมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีต่อการเสนอร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล

ดาวน์โหลด 15 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า