งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

การบริหารจัดการระบบสาธารณสุขในภาวะวิกฤต การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของพื้นที่กรุงเทพมหานคร




การศึกษาวิจัย การบริหารจัดการระบบสาธารณสุขในภาวะวิกฤต การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของพื้นที่กรุงเทพมหานครภายใต้ โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการกระจายอำนาจและประชาธิปไตยท้องถิ่น
โดย สำนักงานศูนย์วิจัย และให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เสนอต่อ วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการในภาวการณ์แพร่ระบาด ของโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมุ่งศึกษาวงจรการจัดการสถานการณ์วิกฤตผ่านแนวคิดวงจรการจัดการวิกฤต (crisis management cycle) และศึกษากฎระเบียบ โครงสร้าง และความสัมพันธ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวกับการจัดการด้านสาธารณสุขผ่านแนวการวิเคราะห์เชิงสถาบัน (institutional approach) เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหา อุปสรรค และผลกระทบจากการบริหารจัดการด้านสาธารณสุขในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรูปแบบการบริหารจัดการระบบสาธารณสุขที่เหมาะสมและสามารถรองรับการแพร่ระบาดของโรคระบาดในอนาคต โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากการทบทวนเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) มีกลุ่มประชากรเป้าหมาย เป็นผู้แทนจากองค์กรหรือหน่วยงาน 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กรุงเทพมหานคร กลุ่มที่ 2 กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มที่ 3 หน่วยงานราชการส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มที่ 4 โรงพยาบาลนอกเครือข่าย กทม. กลุ่มที่ 5 กลุ่มอาสาสมัครการบริหารจัดการสถานการณ์วิกฤติการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และกลุ่มที่ 6 หน่วยงานนอกภาครัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

การบริหารจัดการระบบสาธารณสุขในภาวะวิกฤต การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของพื้นที่กรุงเทพมหานคร (81 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในสถานศึกษา

ดาวน์โหลด 44 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การแพทย์และการสาธารณสุขสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2468-2477

ดาวน์โหลด 14 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การพึ่งพาตนเอง การเสริมสร้างพลังทางสุขภาพฯ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก

ดาวน์โหลด 17 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า