งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาโดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)

ระบอบประชาธิปไตย 02 กุมภาพันธ์ 2566



การประเมินผลการดาเนินงานของรัฐสภาโดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
สถาบันพระปกเกล้า ธันวาคม 2565

             รัฐสภาไทยเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตย มีอำนาจหน้าที่หลักในด้านนิติบัญญัติ ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร และพิจารณาให้ความเห็นในเรื่องต่าง ๆ ในฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทย การดำเนินงานของรัฐสภานั้น โดยหลักต้องดำเนินการตามหน้าที่บนพื้นฐานการบริหารจัดการที่ดี  สอดคล้องกับหลักคุณธรรม และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ การดำเนินการต้องสอดรับกับความคาดหวังของประชาชน ดังนั้น เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าการดำเนินงานของรัฐสภาจะต้องตรงตามความประสงค์ของหลักการข้างต้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานของรัฐสภา ซึ่งสามารถเทียบวัดกับมาตรวัดรัฐสภาของประเทศอื่น ๆ โดยผ่านเกณฑ์และตัวชี้วัดที่สหภาพรัฐสภา (Inter - Parliamentary Union: IPU) ได้กำหนดไว้ การประเมินการดำเนินงานของรัฐสภาตามเกณฑ์และตัวชี้วัดของสหภาพรัฐสภา จึงเกิดขึ้น เพื่อประเมินการดำเนินงานของรัฐสภาไทยตามกรอบตัวชี้วัดที่เป็นสากลของสหภาพรัฐสภาระหว่างประเทศ (Inter-Parliamentary Union : IPU) ซึ่งประกอบด้วยตัวชี้วัด 6 ด้าน ได้แก่ การเป็นตัวแทนประชาชน การตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร การทำหน้าที่นิติบัญญัติ ความโปร่งใส และการเข้าถึงได้ความสำนึกรับผิดชอบ และการมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่างประเทศ ซึ่งผลการศึกษาและประเมินดังกล่าวจะนำไปสู่การเปรียบเทียบกับมาตรฐานการดำเนินงานของรัฐสภาสากลและนำไปสู่แนวทางการพัฒนาความก้าวหน้าในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา

การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาโดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU) (31 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาและวิเคราะห์ "บทบัญญัติคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. ...."

ดาวน์โหลด 56 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การพัฒนากระบวนการและเครื่องมือการกำหนดนโยบายสาธารณะของพรรคการเมืองไทย

ดาวน์โหลด 71 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ดาวน์โหลด 13 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า