งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

การประชาเสวนา Citizen Dialogue และ การเปิดบ้าน (Open House)




แนวคิดการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อโครงการขนาดใหญ่ : การประชาเสวนา Citizen Dialogue และ การเปิดบ้าน (Open House)
                 ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการขนาดใหญ่หลายๆ โครงการ ก่อให้เกิดการต่อต้านจากประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง (Direct Stakeholders) ที่อาศัยอยู่ติดหรือใกล้เคียงกับบริเวณการหาสถานที่ตั้งโครงการ เช่น กรณีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์หรือโครงการวางท่อก๊าซ ไทย – มาเลเซีย ซึ่งที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเรื่องการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน จนเกิดการฟ้องร้องและเดินขบวนประท้วงอย่างที่เห็นกันอยู่บ่อยๆ
การศึกษาวิเคราะห์ปัญหาความขัดแย้งของโครงการขนาดใหญ่ที่ผ่านมา พบว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริงเป็นสิ่งสำคัญที่จะมีผลต่อการส่งเสริม สนับสนุน หรือแม้แต่คัดค้าน ต่อต้านโครงการขนาดใหญ่ ดังนั้น เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริงต่อโครงการขนาดใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต จึงควรให้ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เข้ามามีส่วนร่วมใน 3 เรื่องใหญ่ ๆ โดยเริ่มตั้งแต่

1. การมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาพลังงานระดับมหภาค
2. การมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
3. การมีส่วนร่วมในการดำเนินการโครงการขนาดใหญ่ ตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และหลังการดำเนินงาน ตลอดจนแนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น

การประชาเสวนา Citizen Dialogue และ การเปิดบ้าน (Open House) (6 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

โมเดลการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนตามแนวจิตตปัญญาศึกษาฯ (ทุนสนับสนุนจากสถาบัน)

ดาวน์โหลด 33 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

พัฒนาการสถาปัตยกรรมในสยามในรัชกาลพระบาทสมเด็จประปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2468-2477)

ดาวน์โหลด 44 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

โครงการศึกษาผลต่อชุมชนจากการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล : กรณีศึกษา โรงไฟฟ้าชีวมวลรากไม้ยางพารา อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง

ดาวน์โหลด 118 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า