งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

ความเป็นพลเมืองของนักเรียนในโครงการโรงเรียนพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า




ชื่อเรื่อง ความเป็นพลเมืองของนักเรียนในโครงการโรงเรียนพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า 
ชื่อผู้วิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภีร์ สมอนา
ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจากสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า 
ประจำปีงบประมาณ 2558

           การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทัศนะของนักเรียนพลเมืองต่อความเป็นพลเมือง 2) ความเป็นพลเมืองของนักเรียนพลเมือง และ 3) ระดับความเป็นพลเมืองของนักเรียนพลเมือง การศึกษาใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานด้วยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้แทนผู้บริหารสถาบันพระปกเกล้า (1 คน) ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า (1 คน) นักวิชาการสถาบันพระปกเกล้า (1 คน) ประธานคณะกรรมการศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง (4 คน) และนักเรียน (12 คน) ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณเก็บข้อมลูจากประชากร 196 คน ในพื้นที่ศึกษา 4 จังหวัด คือ อุดรธานี ขอนแก่น ศรีสะ เกษ และสุโขทัย ที่ดำเนินโครงการโรงเรียนพลเมือง ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
ทัศนะต่อความเป็นพลเมือง นักเรียนให้ความหมาย “พลเมือง” คล้ายกัน โดยนิยาม ในมมุมองที่กว้างตามโลกทัศน์และประสบการณ์ทางสังคม คือผู้ที่คิดดีและทำสิ่งดีๆ ต่อส่วนรวม และชุมชน รับผิดชอบต่อตนเอง ทำตามหน้าที่ ปฏิบัติตามกฎหมาย และเคารพผู้อื่น ความเป็นพลเมืองของนักเรียนพลเมือง เมื่อพิจารณาในภาพรวมทั้ง 3 ด้าน (การรับรู้สิทธิและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ความตระหนักในสิทธิและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ และการมีจิตสาธารณะ) พบว่า ภายหลังจากที่นักเรียนพลเมืองผ่านการเข้าร่วมโครงการโรงเรียนพลเมือง นักเรียนมีคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองตามประเด็นต่างๆ จากทั้ง 3 ด้านในภาพรวมอยู่ใน ระดับสูง ระดับความเป็นพลเมืองของนักเรียนพลเมือง เมื่อพิจารณาจากประเด็นต่างๆ ตาม ลักษณะของสภาพทางกฎหมายและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะซึ่งใช้เป็นแนวคิดในการจัดระดับความเป็นพลเมืองในการศึกษาครั้งนี้ พบว่า ภายหลังจากที่นักเรียนพลเมืองผ่านการเข้าร่วมโครงการโรงเรียนพลเมือง ระดับความเป็นพลเมืองของนักเรียนพลเมืองส่วนใหญ่มีความเป็นพลเมืองอยู่ในระดับลงมือปฏิบัติ (active citizen) คิดเป็นร้อยละ 46.9 รองลงมาคือ ระดับตระหนักรู้(concerned citizen) คิดเป็นร้อยละ 40.8 และระดับพึ่งพิง (client) คิดเป็นร้อยละ 12.2

ความเป็นพลเมืองของนักเรียนในโครงการโรงเรียนพลเมือง (118 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในฐานะปัจจัยขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความรุนแรง : สานึกของความเป็นพลเมืองที่สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะทางสังคมและวัฒนธรรม

ดาวน์โหลด 111 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

ผู้นำสูงสุดด้านจิตวิญญาณต่อการสร้างความสมานฉันท์ในชุมชน กรณีศึกษาชุมชนนาเคียน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

ดาวน์โหลด 54 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การศึกษาความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา

ดาวน์โหลด 306 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า