งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

การพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการด้านการศึกษาในชุมชนภาคใต้




ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการด้านการศึกษาในชุมชนภาคใต้ 
(THE MODEL DEVELOPMENT FOR THE EDUCATIONAL WELFARE ARRANGEMENT OF COMMUNITY IN SOUTHERN THAILAND)
โดย จิตติมา ดำรงวัฒนะ
หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2558

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการจัดสวัสดิการด้านการศึกษาในชุมชน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดสวัสดิการด้านการศึกษากับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ในชุมชน และ 3) ศึกษารูปแบบการจัดสวัสดิการด้านการศึกษาในชุมชน ซึ่งผลการศึกษาวิจัย พบว่า กรณีศึกษาที่ 1 ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนบ้านไม้เรียง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีรูปแบบการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย ที่มีการจัดสวัสดิการด้านการศึกษาในเรื่องของทุนทรัพยากรชุมชน มีวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ “การใช้เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน” เชื่อมโยงเครือข่ายการเรียนรู้ ที่ให้บริการความรู้สู่พึ่งตนเองของสมาชิกในชุมชน กรณีศึกษาที่ 2 ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเขากลม จังหวัดกระบี่ พบว่า การจัดการศึกษา 2 รูปแบบ คือ นอกระบบ และตามอัธยาศัย มีการจัดสวัสดิการด้านการศึกษา ใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ “การใช้ปัญหาเป็นฐานสร้างองค์ความรู้” กรณีศึกษาที่ 3 ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนำควาย จังหวัดตรัง พบว่า กระบวนการจัดการศึกษา 3 รูปแบบ คือ ในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย มีการจัดสวัสดิการด้านการศึกษาแบบการสะสมความรู้ และบริการความรู้แก่ชุมชนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้จาก “ประสบการณ์จริง การปฏิบัติจริง” ในรูปแบบสหกิจศึกษาเพื่อเป็นสถาบันสอนทายาทเกษตรกร

การพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการด้านการศึกษาในชุมชนภาคใต้ (41 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาการสื่อสารของพรรคการเมืองผ่านแนวคิด เรื่อง การตลาดการเมือง (Political Marketing) เพื่อสร้างความนิยมทางการเมืองไทย : กรณีศึกษาการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562

ดาวน์โหลด 63 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

ระบบยุติธรรมชุมชนในประเทศประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ดาวน์โหลด 91 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในฐานะปัจจัยขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความรุนแรง : สานึกของความเป็นพลเมืองที่สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะทางสังคมและวัฒนธรรม

ดาวน์โหลด 111 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า