หน้าแรก | ข่าวสาร
นักศึกษาหลักสูตร การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 26 (ปปร.26) บ้านราชดำเนิน ขยายโครงงานกลุ่มเชิงปฏิบัติ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (work shop) โรงเรียนนำร่อง โครงการการจัดการเรียนรู้ด้วย Game-Base Learning เพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่การเป็น Active Citizen ร่วมกับ สถาบันพระปกเกล้า กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เทศบาลเมืองบางกะดี และมูลนิธิฟรีดิช เนามัน เพื่อเสรีภาพ ให้กับครูในสังกัดองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น ระหว่างวันที่ 24-25 เมษายน 2566 ณ โรงยิมเอนกประสงค์ สนามกีฬาเทศบาลเมืองบางกระดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 เป็นพิธีเปิดการอบรม ได้รับเกียรติจาก นายขจร ศรีชวโนทัย อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดอบรมครั้งนี้ และกล่าวถึงในส่วนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และได้รับความร่วมมืออย่างดีจากสถาบันพระปกเกล้า มูลนิธิฟรีดิช เนามัน เพื่อเสรีภาพ และเทศบาลเมืองบางกะดี ในการนำการเรียนรู้โดยในเกมเป็นฐาน (Game-Based Learning) ที่เป็นการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ให้กับโรงเรียนนำร่อง และหวังให้เกิดการขยายผลสู่โรงเรียนอื่นในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป
และมี ดร.ถวิลวดี บุรีกุล รองเลขาสถาบันพระปกเกล้า ให้แนวคิดริเริ่มของใช้เกมในการส่งเสริมทักษะพลเมืองในชั้นเรียน ทั้งนี้ นายธวัชชัย อึ้งอัมพรวิไล นายกเทศมนตรีเมืองบางกะดี และดร.พิมพ์รภัช ดุษฏีอิสรยกุล ผู้จัดการโครงการมูลนิธิฟรีดิช เนามัน เพื่อเสรีภาพ ผู้แทนนักศึกษา ปปร.26 บ้านราชดำเนิน กล่าวถึงความเป็นมาของการจัดการเรียนรู้ด้วย (Game-Based Learning) เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนเข้าสู่ Workshop
หลังจากนั้นเป็นการแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ (Workshop) กระบวนการเรียนรู้โดยในเกมเป็นฐาน (Game-Based Learning) จากคณะวิทยากรมูลนิธิฟรีดิช เนามัน เพื่อเสรีภาพ และคณะวิทยากรของสถาบันพระปกเกล้า
การอบรมได้รับความสนใจอย่างมากในทุกเกมการเรียนรู้ ครูผู้เข้าอบรมมีการผลัดเปลี่ยนกลุ่มเรียนรู้เกมอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหมายให้ได้กระบวนการ เทคนิค ความรู้ต่าง ๆ รวมถึงแนวคิดตามวัตถุประสงค์ของแต่ละเกม เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้เกมเป็นสื่อที่ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน ดึงดูดผู้เรียนสนใจในบทเรียน และช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในชั้นเรียน อันจะส่งผลให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหามิติความเป็นพลเมืองมากขึ้น