หนังสือและบทความ

หน้าแรก | คลังความรู้

บทวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. .…




บทวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. .…
โดย อาจารย์ไพสิฐ พาณิชย์กุล
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

        สิทธิในการเข้าชื่อเพื่อเสนอกฎหมาย ( Right of (legislative) initiative) มีการบัญญัติรับรองไว้ ในรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยรับรองสิทธิในการเสนอกฎหมายทั้งในระดับชาติ และในระดับการปกครองส่วนท้องถิ่น และหากกล่าวโดยเฉพาะการเข้าชื่อเพื่อเสนอกฎหมายในระดับท้องถิ่นแล้ว ก็มี พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542 เป็นบทบัญญัติที่กาหนดกระบวนการ ขั้นตอน และเงื่อนไขรายละเอียดต่าง ๆ ในการใช้สิทธิของประชาชน แต่การรับรองสิทธิดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญและมีกฎหมายมากำหนดในรายละเอียดโดยไม่ได้เชื่อมโยงกับแนวคิดพื้นฐานและเชื่อมโยงกับสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านอื่น ๆ จึงทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปจากแนวคิดหลักการที่เป็นสาระสำคัญหลักของ “สิทธิในการริเริ่ม” (Right of initiative) การริเริ่มเป็นสิทธิในเชิงรุก ( Active ) ซึ่งหมายความว่า ประชาชนเป็นฝ่ายริเริ่มในการใช้สิทธิในด้านต่าง ๆ แต่เมื่อมาบัญญัติรับรองไว้ในกฎหมายสิทธิดังกล่าวกลับมีสภาพและคุณลักษณะที่เป็น Passive หรือ ถูกตีกรอบ ถูกทำให้เป็นภาระมีอุปสรรคต่าง ๆ ดังมีตัวอย่างต่าง ๆ ให้เห็นมากมาย

บทวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. .… (8 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

บทวิเคราะห์ร่าง พรบ. ป้องกันและปราบปรามสิ่งยั่วยุพฤติกรรมอันตราย พ.ศ

ดาวน์โหลด 16 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

รายงานวิเคราะห์ ร่างพระราชบัญญติการรับขนของทางถนนระหว่างประเทศ

ดาวน์โหลด 304 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย Bridging the Inequality Gap and Nurturing Quality of Democracy

ดาวน์โหลด 62 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า