หน้าแรก | ข่าวสาร
วันที่ 28 เมษายน 2564 วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า จัดสัมมนาออนไลน์ “การพัฒนานวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ของท้องถิ่น เพื่อยกระดับมาตรฐานการทำงานสู่รางวัลพระปกเกล้า” ประจำปี 2564 งานสัมมนาได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย (เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า) กล่าวต้อนรับวิทยากรและผู้เข้าร่วมสัมมนา โดยกล่าวถึงความเป็นมาของโครงการรางวัลพระปกเกล้า ซึ่งเป็นรางวัลที่มีอายุยาวนานถึง 21 ปี ตั้งแต่ปี 2544 ซึ่งสถาบันเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาการปกครองท้องถิ่นให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของการปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงได้จัดให้มีการมอบรางวัลพระปกเกล้า เป็นประจำทุกปี ในปี 2564 สถาบันพระปกเกล้า เห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาในระดับพื้นที่ที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด การดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านมา ล้วนตอบสนองความต้องการของประชาชนและแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง สถาบันพระปกเกล้าจึงได้เพิ่มรางวัลพระปกเกล้า ด้านการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม อีกหนึ่งด้าน เพื่อผลักดันและยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดำเนินงานขับเคลื่อนประเด็นความเหลื่อมล้ำในระดับพื้นที่มากขึ้น
จากนั้น เป็นการบรรยายเรื่อง “เกณฑ์ตัวชี้วัดในแต่ประเภทของรางวัลพระปกเกล้าและการจัดเตรียมเอกสารประกอบการพิจารณา” โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร 2 ท่าน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์รณรงค์ จันได และอาจารย์ปุณิกา อภิรักษ์ไกรศรี จาก (คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)โดยมีความสำคัญว่า รางวัลพระปกเกล้าในปี 2564 แบ่งเป็น 3 ประเภทรางวัล โดยเฉพาะประเภทรางวัลที่เพิ่มเติมในปีนี้ คือ “ด้านการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม”
และเพื่อเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตระหนักถึงความสำคัญของการลดความเหลื่อมล้ำในท้องถิ่น รวมไปถึงการมีบทบาทในการลดความเหลื่อมล้ำและส่งเสริมความเป็นธรรมที่ชัดเจน ในส่วนของหลักเกณฑ์การประเมินรางวัลพระปกเกล้า ด้านการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม มีเกณฑ์การประเมินหรือตัวชี้วัด แบ่งเป็น 5 หมวด ได้แก่
ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับโล่รางวัล และใบประกาศเกียรติคุณจากสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งมีรางวัลพระปกเกล้าทองคำ ที่จะมอบให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยได้รับรางวัลพระปกเกล้าในระดับเป็นเลิศ ในด้านเดียวกันมาแล้ว 2 ครั้ง ในระยะเวลา 5 ปีด้วย ในงานสัมมนาดังกล่าวมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้เข้าร่วมสัมมนากว่า 160 คน เข้าร่วมกิจกรรมและซักถามวิทยากรในช่วงท้ายของงานสัมมนา