หน้าแรก | ข่าวสาร
เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2564 สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย จัดบรรยายพิเศษ ผ่านระบบ ZOOM ในหัวข้อ งานสัมมนา “การทบทวนความสำเร็จ สู่การสร้างแรงบันดาลใจจากนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจในรอบ 100 ปี” (China’s Centenary Achievements and Charting a New Chapter of Development Inspirations from China’s Development in the Past 100 Years)
การบรรยายพิเศษ ครั้งนี้จัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ของการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน และการครบรอบ 46 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศจีนและประเทศไทย โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า หยางซิน อุปทูตและรักษาราชการแทนเอกอัครราชทูตแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย, นายพินิจ จารุสมบัติ, พลเอก นาวิน ดำริกาญจน์, พลเอก สุรสิทธิ์ ถนัดทาง, รองศาสตราจารย์ ดร.โภคิน พลกุล, ศาสตราจารย์ ดร.กิตติ ประเสริฐสุข ร
ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวความตอนหนึ่งว่า “สถาบันพระปกเกล้า ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศจีนที่มีความสัมพันธ์ร่วมกันมาอย่างยาวนาน มีการขยายความร่วมมือเชิงลึกในทุกมิติทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรมระหว่าง 2 ประเทศมาร่วม 46 ปี ที่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับจีน สถาบันพระปกเกล้าจึงร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย จึงจัดการบรรยายพิเศษในครั้งนี้ขึ้น เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ผ่านระบบ ZOOM โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อให้สังคมได้รับความรู้ด้านนโยบายต่างๆ ของประเทศจีน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศจีนเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นผู้นำของโลกโดยเฉพาะในด้านของเศรษฐกิจ และประเด็นสำคัญที่น่าสนใจ คือ แนวทางการพลิกฟื้นและแก้ไขปัญหาของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ แนวทางการพลิกฟื้นวิกฤตทางเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ ซึ่งเป็นการผลักดันจากภาคประชาชนที่มีความรู้สึกต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมและขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณที่กดขี่และไม่เป็นธรรมต่อคนชั้นล่าง จนทำให้ประเทศไม่อาจก้าวไปสู่ความเป็นอารยะ จนกระทั่ง ช่วงปี ค.ศ. 2010 – 2020 ซึ่งเป็นช่วงที่จีนก้าวขึ้นมาถึงจุดที่เป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 1 ของโลกได้อย่างเต็มตัว ซึ่งเป็นองค์ความรู้สำคัญที่น่าสนใจยิ่ง เห็นได้จากมีผู้สนใจลงทะเบียนร่วมรับฟังการบรรยายในครั้งนี้ถึง 148 ท่าน
อีกทั้ง สถาบันพระปกเกล้าพัฒนาการทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศมากมาย ซึ่งสถาบันฯ ได้มีโอกาสทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานของจีนหลายหน่วยงาน เช่น Chengdu Administration Institute (CAI), China National Academy of Governance (CNAG), Beijing Chinese Language and Culture (BLCC) หรือสถาบันภาษาวัฒนธรรมปักกิ่ง รวมถึงการศึกษาดูงาน การวิจัย การศึกษาอบรม ซึ่งสถาบันพระปกเกล้าจะไม่หยุดยั้งในการพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย และต่อยอดองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ต่อสังคม