หน้าแรก | ข่าวสาร
กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2564 โดยภาคีผู้จัดงาน Good Society Summit 2021 จัดงานภายใต้คอนเซ็ปท์ “ความหวังในวิกฤต Hope in Crisis” พบกับ 3 Forum เวทีแลกเปลี่ยนประเด็นสังคมทั้ง ด้านธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาทางสังคมของประเทศไทย และวิสาหกิจเพื่อสังคมกับวิทยากรกว่า 50 ท่าน ส่วนที่ 2 พบกับกิจกรรมจากภาคสังคมมากมายที่จะชวนคุณมาร่วมลงมือสร้างสังคมน่าอยู่ในแบบของคุณเอง และส่วนสุดท้ายคือกิจกรรมการเชื่อมต่อภาคีเครือข่ายสังคมดีกับภาคสังคมและภาคธุรกิจในรูปแบบ Virtual Events ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ http://goodsociety.network เพื่อร่วมกันนำเสนอประเด็นทางสังคมที่หลากหลายพร้อมช่องทางที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมสร้างสังคมดี ปีนี้เราเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานเป็น Virtual Event ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่ทุกภาคส่วนทั้งภาคสังคม ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนทั่วไป ธุรกิจเพื่อสังคม สื่อมวลชน ร่วมนำเสนอประเด็นทางสังคมที่น่าสนใจกว้างและลึกมากขึ้นกว่าเดิม โดยเป้าหมายคือการร่วมสร้างสังคมดีที่น่าอยู่ในแบบที่ทุกคนต้องการ ซึ่งงานนี้เป็นโอกาสดีที่ทุกคนจะได้มีส่วนร่วมคิดและลงมือทำ เพื่อสร้างสังคมดีที่พวกเราอยากเห็น ผ่านกิจกรรมและเวทีระดมความร่วมมือในประเด็นต่าง ๆ เป็นเวทีระดมความร่วมมือแผนปฏิบัติการธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Governance for Sustainable Development Forum: GSDF) ชวนทุกคนร่วมระดมสมอง หารือประเด็นการสร้างเสริมธรรมาภิบาลใน 7 ประเด็น ได้แก่ 1) ภาคการเงินการธนาคาร 2) ภาคตลาดทุน: แนวทางขับเคลื่อนงานธรรมาภิบาลสู่ความยั่งยืน โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน 3) การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ& Open Data 4) ระบบรัฐสภา 5) ธรรมาภิบาลในภาคป่าไม้ 6) ภาคสื่อมวลชน 7) ธรรมาภิบาลสื่อบุคคล
ใน Parnell ของสถาบันพระปกเกล้า เริ่มตั้งแต่เวลา 14.30 - 16.00 น. ในประเด็น Governance for Sustainable Development Forum : GSDF (ระบบรัฐสภา) โดยศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ให้สาระและมุมมองในประเด็น "ธรรมาภิบาลในระบบรัฐสภาจากสายตาประชาชน" พร้อมด้วย ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา นายนิกร จำนง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ ให้สาระและมุมมองในประเด็น "Better Parliament : ทำอย่างไรให้รัฐสภามีธรรมาภิบาล" ซึ่งเป้าหมายสำคัญของกิจกรรมดังกล่าวต้องการสร้างสังคมที่น่าอยู่ในแบบที่ทุกคนต้องการจากผู้ร่วมจัดงานกว่า 100 องค์กรและ120 โครงการ เพราะเราเชื่อมั่นว่าเราทุกคนในฐานะประชาชนคนหนึ่ง จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมเพื่อความอยู่ดีมีสุขของทุกคนอย่างยั่งยืน