ภาพกิจกรรม

หน้าแรก | ข่าวสาร

สัมมนาสาธารณะ ครั้งที่ 3 เมื่อรัฐต้องรู้ว่าเราคุยอะไรกัน ผ่านระบบ Zoom และ Facebook Live


             เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2565 สถาบันพระปกเกล้า โดยสำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา จัดโครงการสัมมนาสาธารณะ ครั้งที่ 3  “เมื่อรัฐต้องรู้ว่าเราคุยอะไรกัน”  ผ่านระบบ Zoom และ Facebook Live  โดยได้รับเกียรติจาก นายวิทวัส ชัยภาคภูมิ รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวเปิดการสัมมนา พร้อมด้วย ท่านสมชาย แสวงการประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนา 

             วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ 6 ท่านในเวทีนี้ ประกอบด้วย 

  • รองศาสตราจารย์ ดร.เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ผู้ทำการศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดให้รัฐเข้าถึง หรือได้มาซึ่งข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกัน : กรณีศึกษาต่างประเทศ)
  • รองศาสตราจารย์ปกป้อง ศรีสนิท อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ผู้ทำการศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดให้รัฐเข้าถึง หรือได้มาซึ่งข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกันในสาธารณรัฐฝรั่งเศส) 
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรรภิรมย์ โกมลารชุน อาจารย์ประจำคณะคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์(ผู้ทำการศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดให้รัฐเข้าถึง หรือได้มาซึ่งข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกันในสหพันธรัฐเยอรมนี) 
  • ดร.ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ผู้ทำการศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดให้รัฐเข้าถึง หรือได้มาซึ่งข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกันในสหรัฐอเมริกา) 
  • ดร.รัฐสภา จุรีมาศ อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(ผู้ทำการศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดให้รัฐเข้าถึง หรือได้มาซึ่งข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกันในสหราชอาณาจักร) 
  • นางสาวชมพูนุท ตั้งถาวร นักวิชาการผู้รับผิดชอบโครงการวิจัยและผู้ดำเนินรายการในวันนี้ โดยในงานสัมมนาวันนี้ เราจะได้พูดคุยและพิจารณาประเด็นที่น่าสนใจในแง่ของการหาความสมดุลระหว่างสิทธิมนุษยชนและความมั่นคงของรัฐในต่างประเทศ ซึ่งมีประเด็นขบคิดที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวงการกฎหมายไทยได้ 

            สัมมนาสาธารณะดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสำหรับคณะกรรมาธิการ สมาชิกรัฐสภาและบุคลากรในวงงานรัฐสภา รวมถึงบุคลากรในวงงานยุติธรรมและกฎหมาย และประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นทางวิชาการที่มีประโยชน์ โดยในปีนี้ เราได้จัดงานเพื่อนำเสนอประเด็นทางวิชาการในด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อประโยชน์กับงานนิติบัญญัติ (Right to be the Series)  จำนวน 3 ครั้ง ได้แก่ 1) สิทธิที่จะถูกลืมบนเส้นทางกฎหมายไทย ซึ่งจัดไปเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 และ 2) สิทธิและความเท่าเทียมระหว่างเพศในกฎหมายไทย เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 และ 3) สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลที่สื่อสารกัน (เมื่อรัฐต้องรู้ว่าเราคุยอะไรกัน) ซึ่งจัดขึ้นในวันนี้ โดยผู้เข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้มาจากกลุ่มที่หลากหลาย ประกอบด้วย คณะกรรมาธิการ สมาชิกรัฐสภา บุคลากรในวงงานรัฐสภา บุคลากรในวงงานยุติธรรมและกฎหมาย นักวิชาการ รวมทั้งประชาชนทั่วไป จำนวน 40 ท่าน  ซึ่งจะได้พัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของงานคณะกรรมาธิการและการดำเนินงานของฝ่ายนิติบัญญัติต่อไป

            บรรยากาศการสัมมนาตลอดทั้ง 3 เวที เต็มไปด้วยอรรถรส สำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา นำโดย นางสาวธีรพรรณ ใจมั่น ผู้อำนวยการ พร้อมด้วย นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ และทีมงาน เตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้รับความรู้อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ ท่านสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารดีๆ จากสำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภาได้ทาง facebook fanpage สำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา และ facebook fanpage สถาบันพระปกเกล้า


Share :

กลับไปหน้าหลัก

สถาบันพระปกเกล้า