หน้าแรก | ข่าวสาร
ระหว่างวันที่ 9 - 10 พ.ค.65 : สถาบันพระปกเกล้า จัดหลักสูตรฝึกอบรมวิทยากรกระบวนการ สำหรับจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อการปฏิรูป ณ โรงแรมไมด้า แกรนด์ ทวารวดี จ.นครปฐม โดยในวันแรก เป็นพิธีเปิดและบรรยาย หัวข้อ “แนวคิดและหลักการเป็นวิทยากรกระบวนการ” โดย นายศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ (ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า) จากนั้น เป็นการบรรยายหัวข้อ “เทคนิคและกระบวนการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในรูปแบบการจัดเวทีรับฟัง(ช่วงที่ 1) โดย นางณัชชาภัทร อมรกุล (นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ สถาบันพระปกเกล้า)และ ดร.อภิญญา ดิสสะมาน (นักวิชาการผู้ชำนาญการ สถาบันพระปกเกล้า) ส่วนในภาคบ่ายเป็นการบรรยาย “เทคนิคและกระบวนการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในรูปแบบการจัดเวที รับฟัง (ช่วงที่ 2) โดย ดร.เลิศพร อุดมพงษ์ และ นายณวัฒน์ ศรีปัดถา (นักวิชาการผู้ชำนาญการ สถาบันพระปกเกล้า)
การบรรยาย หัวข้อ "กระบวนการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในรูปแบบอื่นๆ" โดย ดร.เลิศพร อุดมพงษ์ (นักวิชาการผู้ชำนาญการ สถาบันพระปกเกล้า)จากนั้น เป็นการฝึกปฏิบัติ หัวข้อ “การออกแบบกระบวนการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในรูปแบบการจัดเวทีรับฟัง โดยคณะวิทยากรส่วนในวันที่สอง เป็นการฝึกปฏิบัติการ หัวข้อ "การออกแบบกระบวนการจัดรับฟังความคิดเห็น" โดยผู้เข้าอบรมแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยฝึกปฏิบัติเป็นวิทยากรกระบวนการ ผู้เข้าร่วมการประชุม และผู้สังเกตการณ์ โดยมีคำแนะนำจากคณะวิทยากร และการบรรยาย "สรุป ประเมินผล และการเตรียมการสำหรับเครือข่ายเพื่อการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อการปฎิรูป" โดย ดร.เลิศพร อุดมพงษ์ ในช่วงท้าย เป็นพิธีปิดและมอบใบรับรอง โดย นายณัฐพงศ์ รอดมี (ผอ.สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า) โดยมีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 35 คน ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรม มาจากหลายภาคส่วน อาทิ ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครู อาจารย์มหาวิทยาลัย กรรมการศูนย์การเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า และผู้นำระดับพื้นที่ของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ในภาคตะวันตก
สถาบันพระปกเกล้า ดำเนินงานตามแผนกิจกรรมปฏิรูปที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) ในกิจกรรมปฏิรูปที่ 5 การปรับปรุงโครงสร้างและเนื้อหาของรัฐธรรมนูญเพื่อการปฏิรูป ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญ ที่ต้องการให้โครงสร้างและเนื้อหาของรัฐธรรมนูญตั้งอยู่บนพื้นฐานข้อมูลเชิงประจักษ์และเชิงวิชาการ จึงมีการออกแบบและพัฒนา “หลักสูตรฝึกอบรมวิทยากรกระบวนการสำหรับจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อการปฏิรูป” เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ หรือผู้ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ในการจัดรับฟังความคิดเห็น โดยเฉพาะบุคลากรระดับพื้นที่ ได้รับการฝึกอบรมความรู้และทักษะของการเป็นวิทยากรกระบวนการที่มีความพร้อมรับภารกิจสำคัญดังกล่าวในอนาคต