หน้าแรก | ข่าวสาร
เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับมูลนิธิฟรีดริช เนามัน (Friedrich Naumann Foundation) จัดสัมมนาออนไลน์“แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท้องถิ่นต้นแบบในการจัดการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ” การสัมมนา ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย (เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า) กล่าวเปิดงาน โดยความสำคัญตอนหนึ่งว่า การศึกษา เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการยกระดับปัจเจกบุคคล ปัจจัยที่ทำให้โอกาสทางการศึกษาแตกต่างกัน คือ ความสามารถในเข้าถึงของผู้เรียน สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งข้อจำกัดของผู้จัดการศึกษาหรือสถานศึกษา ซึ่งการศึกษาไทยยังมีความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ส่งผลกระทบสู่ระบบการศึกษาทำให้เกิดปัญหามากขึ้น เช่น การเรียนออนไลน์ และทำให้เด็กบางส่วนหลุดออกจากระบบการศึกษา ซึ่งทางออกควรส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีศักยภาพมากขึ้น และทำให้สถานศึกษามีคุณภาพมากขึ้น
สถาบันพระปกเกล้าให้ความสำคัญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นองค์กรที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด สามารถจัดการศึกษาแบบนอกระบบได้ รวมทั้งต้องทบทวนดูต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการจัดการการศึกษา โดยเวทีสัมมนาในวันนี้เป็นการนำตัวอย่างของการจัดการศึกษาทั้งในและต่างประเทศที่ประสบผลสำเร็จ นำไปสู่พัฒนาการของการจัดการศึกษาในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ ถ้าผู้บริหารท้องถิ่นให้ความสำคัญกับการศึกษา เชื่อว่าการศึกษาจะเป็นปัจจัยสำคัญของการทำให้คุณภาพของการศึกษาประสบความสำเร็จ ต่อมา เป็นเวทีสัมมนา “ถอดรหัสความเสมอภาคทางการศึกษา : เปิดมุมมอง ขยายประสบการณ์จากต่างประเทศ (ฟิลิปปินส์ โรมาเนีย และตุรกี) โดย Prof. Alex Bello Brillantes, Jr, Secretary-General of he Eastern Regional Organization for Public Administration (EROPA), and Professor of the National College of Public Administration and Governance of the University of the Philippines ส่วนเวทีต่อมาเป็นการเล่าถึงประสบการณ์ในการจัดการความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ต้นแบบในประเทศไทย
ท่านสามารถดาวโหลดเอกสารสรุปผลการสัมมนา ได้ทางเว็บไซต์สถาบันพระปกเกล้า คลิก และรับชมย้อนหลัง คลิก