ภาพกิจกรรม

หน้าแรก | ข่าวสาร

สถาบันพระปกเกล้าจัดการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 24 ภายใต้หัวข้อ “ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย” (New Security Challenges and Democracy)


           เมื่อวันที่ 6 พฟศจิกายน 2565  สถาบันพระปกเกล้าจัดการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 24 เป็นวันที่สาม โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้ การนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย 5 กลุ่ม โดย

กลุ่มย่อยที่ 1 ประชาธิปไตยและความท้าทายของเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Democracy and Advanced Technological Challenges) นำเสนอโดย ดร.สติธร ธนานิธิโชติ (ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า)
กลุ่มย่อยที่ 2 ประชาธิปไตยและการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ (Democracy and Geopolitics Rivalry) นำเสนอโดย นางสาวชมพูนุท ตั้งถาวร (นักวิชาการผู้ชำนาญการ สำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา สถาบันพระปกเกล้า) 
กลุ่มย่อยที่ 3 ประชาธิปไตยกับความมั่นคงทางสังคม (Democracy and Societal Security) นำเสนอโดย ดร.เลิศพร อุดมพงษ์ (นักวิชาการผู้ชำนาญการ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า) 
กลุ่มย่อยที่ 4 ประชาธิปไตยและความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม (Democracy and Environmental Security) นำเสนอโดย ดร.ชลัท ประเทืองรัตนา (นักวิชาการผู้ชำนาญการ สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า) 
กลุ่มย่อยที่ 5 ประชาธิปไตย โลกาภิวัตน์และการพลิกผันทางเศรษฐกิจ (Democracy, Globalization, and Economic Disruption) นางสาวธีรพรรณ ใจมั่น (ผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา สถาบันพระปกเกล้า) และดำเนินรายการโดย ดร.ถวิลวดี บุรีกุล (ผู้อำนวยการ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า) 

         การแสดงปาฐกถาปิด โดย ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย (เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า) “มองไปข้างหน้าความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตยไทย” ความมั่นคงแบบดั้งเดิม คือการป้องกันประเทศ แต่ ความมั่นคงแบบใหม่ เป็นความมั่นคงสำหรับความเป็นอยู่ของมนุษย์ รักษาคุณค่าที่ปรารถนา ความมั่นคงทางสังคมจึงเป็นเรื่องใหม่ เทคโนโลยีเป็นเรื่องใหม่แต่ทำอย่างไรไม่ให้เทคโนโลยีทำร้ายสังคม ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงต่างๆ เป็นเส้นแบ่งของสังคม  มิติของความหลากหลายของความมั่นคงมีมากมาย ได้แก่ UNDP กำหนดความมั่นคงไว้ 7 ประการ ได้แก่ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางอาหาร (โควิด-19 ทำให้เราเห็นความสำคัญของความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงกระบวนการจัดหาอาหารให้บริโภคอย่างปลอดภัย) ความมั่นคงทางสุขภาพ (มีหลักประกันสุขภาพ การพัฒนาระบบคุณภาพการให้บริการ) ความมั่นคงส่วนบุคคล (ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล มีกฎหมาย PDPA) ความมั่นคงของชุมชน (สุขภาวะของชุมชน ชุมชนที่เข้มแข็งปราศจากภัยคุกคาม) และความมั่นคงทางการเมือง (เป็นการเมืองที่ไม่กัดกินตัวเอง ไม่เป็นประชาธิปไตยที่กัดกินตัวเอง ประชาชนไม่ศรัทธาการเมือง)

       การระบุปัญหาความมั่นคง ช่วยในการวิเคราะห์ ความสมเหตุสมผลของนโยบายความมั่นคง Security and Non Traditional Security Traditional อาจก่อให้เกิดปัญหา Non Traditional ประเด็นเรื่องอธิปไตยยังมีความสำคัญและอาจปะทุขึ้นมาใหม่ Traditional Security อาจไปกระทบ Non Traditional Security

       การทำให้สังคมยึดมั่นในคุณค่าประชาธิปไตย ต้องคำนึงถึง อธิปไตยเป็นของปวงชน เพื่อส่วนรวม มีความยุติธรรม นิติรัฐ เสรีภาพ มีความเท่าเทียม ความหลากหลาย สัจจะ การแสวงหาความสุข และรักบ้านเกิดเมืองนอน  Mindset ของการบริหารประเทศคือ ต้องการการมีส่วนร่วมที่มีคุณภาพ ทำแล้วมีประโยชน์ต่อส่วนรวม ต้องร่วมกันสร้างความไว้วางใจของคนโดยส่วนรวม ซึ่งต้องมีความโปร่งใส และหลักความรับผิดชอบ ต้องเปิดเผยและตรวจสอบได้

       สุดท้าย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ทิ้งท้ายไว้ว่า "ความท้าทายของสังคมไทย ต้องสร้างคุณค่า ซอฟท์แวร์ของสังคม และสร้างฮาร์ดแวร์ การปรับกลไกการบริหารในระดับมหภาค ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายของสังคม"

 


Share :

กลับไปหน้าหลัก

สถาบันพระปกเกล้า