ภาพกิจกรรม

หน้าแรก | ข่าวสาร

สถาบันพระปกเกล้า ร่วมจัดสัมมนาพร้อมจัดกระบวนการรวบรวมความเห็น ภายใต้หัวข้อ “ทิศทางและรูปแบบการบริหารราชการแผ่นดินในภูมิภาค (การมอบอำนาจและการกระจายอำนาจ)”


           สถาบันพระปกเกล้า ร่วมจัดสัมมนาพร้อมจัดกระบวนการรวบรวมความเห็น ภายใต้หัวข้อ “ทิศทางและรูปแบบการบริหารราชการแผ่นดินในภูมิภาค (การมอบอำนาจและการกระจายอำนาจ)” เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 คณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน วุฒิสภา ร่วมกับ สถาบันพระปกเกล้า สำนักงาน ก.พ.ร. และกระทรวงมหาดไทย จัดงานสัมมนา เรื่อง ทิศทางและรูปแบบการบริหารราชการแผ่นดินในภูมิภาค (การมอบอำนาจและการกระจายอำนาจ) ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เป็นประธานเปิดงาน กล่าวรายงานโดย พลเอก อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมาธิการ กล่าวรายงาน พร้อมกันนี้ยังได้รับเกียรติจาก ศาตราจารย์กิตติคุณ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี บรรยายพิเศษ  

           จากนั้น รับฟังมุมมองของวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ในประเด็น ทิศทางและรูปแบบการบริหารราชการแผ่นดินในภูมิภาค (การมอบอำนาจและการกระจายอำนาจ) โดย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย , นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ เลขาธิการ ก.พ.ร. , ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า ดำเนินรายการโดย ดร.รัตนจันทร์ ศีลสัมฤทธิ์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ  ต่อด้วย การสัมมนา ของผู้บริหารในแวดวงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต่อทิศทางและรูปแบบการบริหารราชการแผ่นดินในภูมิภาค (การมอบอำนาจและการกระจายอำนาจ) โดย นายยงยศ แก้วเขียว ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำหนด ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แห่งประเทศไทย , นายศุภสัณห์ หนูสวัสดิ์ รองเลขาธิการสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และ นายชาตรี ศรีสัมฤทธิ์ หัวหน้าสำนักงานสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย

            ช่วงบ่าย นางสาวธีรพรรณ ใจมั่น ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา พร้อมด้วยทีมนักวิชาการและเจ้าหน้าที่ของสถาบันพระปกเกล้า ดำเนินการแบ่งกลุ่มย่อย เพื่อเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็น โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เรื่อง“รูปแบบ โครงสร้าง และบุคลากร” กลุ่มที่ 2 เรื่อง “หน้าที่ อำนาจ และกฎหมายที่รองรับกับบริบทของสังคม” กลุ่มที่ 3 เรื่อง เรื่อง “งบประมาณ” และ กลุ่มที่ 4 เรื่อง “ความต้องการของประชาชน” ทั้งนี้ ในส่วนของการรับฟังความคิดเห็นในเวทีดังกล่าวจะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แสดงความคิดเห็นโดยอิสระ และ สถาบันพระปกเกล้า จะทำหน้าที่รวบรวมปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการต่อไป

         นอกจากนี้ทีมสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย ได้แนะนำแอปพลิเคชั่น KPI E-Learning และนิทรรศการความรู้ กิจกรรมโครงการต่างๆ ของวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารในวงงานวุฒิสภา และผู้เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเข้าถึงความรู้ โดยนำเทคโนโลยีอันทันสมัยมาเป็นตัวเชื่อมส่งต่อองค์ความรู้ดีๆ ซึ่งจะเป็นคลังความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการทำงานของวุฒิสภาต่อไป


Share :

กลับไปหน้าหลัก

สถาบันพระปกเกล้า