หน้าแรก | ข่าวสาร
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับ Social Weather Stations (SWS), The Philippines The Ateneo de Manila University (ADMU), The Philippines The University of the Philippines (UP), The Philippines จัดสัมมนาออนไลน์ “Know – Wonder – and Learn: The 2022 Philippines’ Election” Webinar “การเลือกตั้งในประเทศฟิลิปปินส์ 2022” เพื่อสรุปภาพรวมการเลือกตั้งประเทศฟิลิปปินส์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านพฤติกรรมการเลือกตั้ง ณ ห้องอบรม สถาบันพระปกเกล้า ในรูปแบบออนไลน์
การสัมมนาได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย (เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า) กล่าวเปิดงาน โดยความสำคัญตอนหนึ่งว่า “ผลการเลือกตั้งทั่วไปของฟิลิปปินส์ในเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ถือเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับภูมิทัศน์ใหม่ทางการเมือง และในเมืองไทยก็เช่นกัน ที่มีเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผลการเลือกตั้งก็ได้ช่วยอธิบายภูมิทัศน์ทางการเมืองของไทยเช่นกัน มีปัจจัยสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณสมบัติทางการศึกษา การจัดทำนโยบาย และผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหน้าใหม่ ซึ่งมีทัศนคติที่มีความแตกต่างกันมากระหว่างคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ และสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามคือเรื่องความสำคัญของพลังSocial media ที่ทำให้คนเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้โดยง่าย ดังนั้น การสัมมนาครั้งนี้จึงเป็นเวทีที่สำคัญที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นด้านพฤติกรรมของประชาชนต่อการเลือกตั้ง”
เวทีอภิปราย เรื่อง “การเลือกตั้งในประเทศฟิลิปปินส์ 2022” ดำเนินรายการโดย ดร.ถวิลวดี บุรีกุล (ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า) โดยมีการนำเสนอดังนี้
Prof.Segundo Joaquin E.Romero จาก Ateneo de Manila University บรรยายหัวข้อ “Independent Electoral Commission Performance in the Philippines” ได้เสนองานวิจัยที่ศึกษาการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งของฟิลิปปินส์(Commission on Elections: COMELEC) ในการเลือกตั้งฟิลิปปินส์ปี 2022 หน้าที่ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ซึ่งมีกระบวนการหลักสำหรับการพิจารณา 6 ประการ คือ บรรยากาศของการเลือกตั้ง กระบวนการการจัดการเลือกตั้ง การอำนวยการและการออกกฎเกณฑ์ข้อบังคับ การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ผลการเลือกตั้ง การติดตามและประเมินผล
ทั้งนี้ Prof.Romero ได้นำรายงานผลของการตรวจสอบติดตามจากหน่วยงานอิสระที่ติดตามการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศฟิลิปปินส์ในเดือนพฤษภาคม 2565 เช่น International Observer Mission, the Asian Network for Free Elections, The National Movement for Free Election เป็นต้น โดยได้นำข้อมูลที่ได้จากการประเมิน มาพลอตลงใน ตัวชี้วัดใน 10 มิติ ที่มหาวิทยาลัย Ateneo de Manila เคยใช้ในการวิจัยเปรียบเทียบการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งของฟิลิปปินส์และไทย
การศึกษาของ Mr.Vladymir Joseph Licudine, Program Director ของ Social Weather Surveys จาก Social Weather Stations ได้ศึกษาพฤติกรรมผู้ลงคะแนนเสียงในพื้นที่ของฟิลิปปินส์ 4 พื้นที่ คือ ย่าน Metro Manila Luzon Visayas และMindanao การสัมภาษณ์ผู้มีสิทธิ์ออกสียงเลือกตั้ง ดำเนินการในเดือนเมษายน 2565 โดยสรุปผู้มีสิทธิ์ออกสียงลูกตั้ง ส่วนใหญ่จะลงคะแนนให้ผู้สมัครที่จะสนับสนุนการบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจากเมโทรมะนิลาหรือ เขตชุมชนเมือง ผู้จบการศึกษาปริญญาตรี ฯลฯ เปิดกว้างมากขึ้น ในการที่จะเลือกผู้สมัครที่จะสนับสนุนให้มีการกำหนดโทษประหารชีวิตให้นำกลับมาบังคับใช้ใหม่ ส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจากเมโทรมะนิลาจะค่อนข้างคล้อยตามผู้สมัครที่จะสนับสนุนการออกกฎหมายของการหย่าร้าง ผู้ที่มีวุฒิการศึกษาระดับวิทยาลัยและชาวมุสลิมในเมโทรมะนิลาและผู้มีอายุน้อยตลอดจนผู้ถือปริญญาระดับวิทยาลัยมีแนวโน้มที่จะลงคะแนนเสียงให้กลับผู้สมัครที่จะสนับสนุนกฎหมายต่อต้านการสืบทอดจากตระกูลทางการเมือง การอภิปรายหัวข้อสุดท้าย หัวข้อ “Lessons Learned from Elections in the Philippines and Thailand” โดย รองศาสตราจารย์สีดา สอนศรี (ผู้คุณวุฒิด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) และ ดร.เลิศพร อุดมพงษ์ (นักวิชาการผู้ชำนาญการ สถาบันพระปกเกล้า)
อภิปรายถึงการการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศฟิลิปปินส์ มีใจความตอนหนึ่งว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ ต้องยอมรับว่าการสื่อสารของผู้สมัครผ่านSocial media เป็นยุทธวิธีหลักของการเลือกตั้ง โดยผู้สมัครที่ได้รับการติดตามจากกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ คือ Bong Bong Margos ที่ผลิตคลิปวิดีโอเผยแพร่ในโซเชียลมีเดีย ทุกช่องทางเป็นผลให้มีผู้ติดตามจำนวนหลักล้าน สำหรับประเทศไทย เนื่องจากในปี 2566 จะมีการเลือกตั้งทั่วไป สถานการณ์การประท้วงผลการเลือกตั้งในฟิลิปปินส์ สะท้อนว่า ประชาชนมีความคาดหวังต่อการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ของไทย ที่จะต้องเป็นไปโดยสุจริตและยุติธรรม ดังนั้น กกต.จึงควรเน้นเรื่องการบริหารจัดการองค์กร และสื่อสารองค์กร โดยเน้นที่ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และหมั่นสื่อสารประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรดำเนินงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่วนบทเรียนจากการใช้ Social media ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของฟิลิปปินส์นั้น ถ้านักการเมืองใช้อย่างถูกทาง ก็จะมีโอกาสที่จะได้เปรียบในสนามการเลือกตั้ง
ดร.เลิศพร อุดมพงษ์ (นักวิชาการผู้ชำนาญการ สถาบันพระปกเกล้า) ได้นำเสนอการศึกษาวิจัย เรื่อง “มาตรฐานการทำงานของกกต.ในการเลือกตั้งทั่วไป ปี 2019” ซึ่งมีประเด็นสำคัญ ได้แก่
- กกต.ต้องให้ความสำคัญในการจัดการเลือกตั้งครั้งต่อไป รวมทั้งการสื่อสารประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเลือกตั้ง เรียนรู้ที่ใช้โซเชียลมีเดียในการจัดการเลือกตั้ง รวมทั้ง ด้านการตลาดการเมืองออนไลน์
- กกต.ต้องพัฒนาความรู้ บุคลากรของกกต.เพื่อให้ทันต่อการหาเสียงออนไลน์และรูปแบบการหาเสียงออนไลน์
- โซเชียลมีเดีย เป็นสื่อสำคัญสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปในครั้งต่อไป รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเป็นความท้าทายด้านดิจิทัล
- การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง การโจมตีคู่แข่งและการหาเสียงในเชิงลบ ไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป