ภาพกิจกรรม

หน้าแรก | ข่าวสาร

กิจกรรม Local Talk Series EP 6 Smart city คำตอบของชุมชนท้องถิ่นในยุค New Normal


         เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2563 สถาบันพระปกเกล้า โดยวิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น จัดเสวนา Online ภายใต้แนวคิด Local Talk Series : New Chance in New Normal กับ 8 ประเด็นที่ท้องถิ่นไทยไม่ควรพลาดขึ้น ซึ่งเวทีในวันนี้ เป็นการจัดกิจกรรม ครั้งที่ 6 โดยได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.เอกชัย สุมาลี (อาจารย์ประจำสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) มาเสวนาแลกเปลี่ยนในประเด็น “Smart city คำตอบของชุมชนท้องถิ่นในยุค New Normal” ดำเนินการเสวนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วสันต์ เหลืองประภัสร์

         การเสวนากล่าวทำความเข้าใจว่า Smart city คือ การบริหารจัดการเมืองรูปแบบใหม่ ด้วย IT โดยเฉพาะสภาพ New normal อย่างเรื่องการเยียวยา การติดตามด้านสุขภาวะ เทคโนโลยีดิจิทัลมีความจำเป็นอย่างโดดเด่นขึ้นมา สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ทำให้ประชาชนกระโดดเข้าสู่ Digital Market ตัวอย่างหนึ่งคือ ตลาดร้อยเอ็ดออนไลน์เป็นชุมชนดิจิทัลที่มีสมาชิกมากกว่าแสนคน ในมิติ Smart city ต้องเข้าใจแนวทางที่จะต้องปรับตัวทั้งคนและเมือง 4 องค์ประกอบที่จะเป็น Smart city คือ กลุ่มที่ 1 คือผู้ที่เกี่ยวข้อง/ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มบริการเมือง กลุ่มที่ 3 คือ กฎ ระเบียบ และกลุ่มที่ 4 คือ โครงการพื้นฐาน Smart city จะเชื่อมองค์ประกอบเหล่านี้เข้าด้วยกัน โดยเป็นเครื่องมือที่จะนำเมืองไปสู่เป้าหมายของเมืองที่ตั้งไว้

         การขับเคลื่อน Smart city นั้น ทุกคนต้องตื่นตัวมากขึ้น เป้าหมายต้องทำให้เมืองเป็นการบริหารจัดการแบบ Smart ไม่ใช่เพียงแค่อุปกรณ์ สาธารณูปโภคพื้นฐานที่ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ต้องรวมถึงการบริหารจัดการเรื่องของกฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่ต้องปรับเปลี่ยนตาม นักการเมืองที่ต้องปรับตัวคิดอย่าง Digital กลไกเหล่านี้จะเป็นแรงขับเคลื่อนเป็นองค์ประกอบกันทั้งหมด ซึ่งในสถานการณ์ New normal คนไทยมีการจัดการตัวเองที่ดี มีระเบียบวินัย ทำให้ควบคุมสถานการณ์ได้ดี ดังนั้นจึงต้องทำให้วิถีชีวิตแบบใหม่ให้เข้ามาอยู่ในวิถีปัจจุบันต่อไปและตลอดไป ตัวอย่างเมืองในประเทศไทย ที่ขับเคลื่อน Smart city ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมืองขอนแก่น เมืองร้อยเอ็ด ที่กำลังพัฒนาได้เป็นอย่างดี

         การเดินหน้า Smart city ในเมืองที่ประสบความสำเร็จจะมีการตั้งหน่วยงานที่จะขับเคลื่อนการเป็น Smart city โดยเฉพาะ ที่จะใช้เทคโนโลยี ข้อมูลที่เชื่อมโยงแต่ละพื้นที่เข้าด้วยกัน จะทำให้ชุมชนเมืองมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึง Smart Health cares จะทำให้การบริหารและการบริการด้านสุขภาพ ไปลดภาระของประชาชนอันเป็นหัวใจของการบริหารเมืองเพื่อประชาชน เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว อุปสรรคอย่างหนึ่งต้องระวังอย่าติดกับเทคโนโลยี ต้องทำความเข้าใจ เรียนรู้หาความรู้ และเลือกใช้เครื่องมืออย่างชาญฉลาด จึงจะทำให้เมืองเข้าสู่ Smart city และบรรลุเป้าหมายเมืองที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ การเสวนาจัดเผยแพร่ทาง Facebook LIVE ของวิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า และ Facebook LIVE ของสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งในครั้งต่อไป EP.7 พบกับ ศ.ศศิพัฒน์ ยอดเพชร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสวัสดิการผู้สูงอายุ ใน “โจทย์ใหม่สังคมสูงวัยยุคหลัง COVID” วันที่ 9 กันยายน 2563 เวลา 15.00 น.


Share :

กลับไปหน้าหลัก

สถาบันพระปกเกล้า