หน้าแรก | ข่าวสาร
สถาบันพระปกเกล้าได้รับ พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จแทนพระองค์มาทรงเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า จัดงานประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 22 ประจำปี 2563
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2563) สถาบันพระปกเกล้า จัดประชุมวิชาการ ครั้งที่ 22 (KPI CONGRESS 22nd)หัวข้อ“จินตภาพใหม่การกระจายอำนาจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ:บทเรียนจากโควิด-19” (Reimagining Decentralization to Reduce Inequality: Lessons Learned from the COVID-19 Crisis) ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อิมแพ็คชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี
สถาบันพระปกเกล้าได้รับ พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จแทนพระองค์มาทรงเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการ สถาบันพระปกเกล้า จัดงานประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 22 ประจำปี 2563 ในหัวข้อ “จินตภาพใหม่การกระจายอำนาจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ : บทเรียนจากโควิด-19” และทรงเปิดนิทรรศการ “ลดความเหลื่อมล้ำ สู่ความเสมอภาคและเท่าเทียม”
จากนั้น เป็นการแสดงปาฐกถานำ เรื่อง “Demonopolize, Decentralize to Recover” โดย Dr.Chris Baker (ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และการเมืองไทย) และเวทีอภิปรายมุมมองและประสบการณ์จากต่างประเทศ เรื่อง “Democracy, Decentralization and Inequality Reduction: Comparative Perspectives” โดย Mr.James Andersen, Mr. Tsukasa Omori, Mr. Jens Petter Olsen ผู้ดำเนินรายการ โดย ดร.ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ (ประธานคณะกรรมการจัดงานประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 22)
งานประชุมวิชาการครั้งที่ 22 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การกระจายอำนาจ ลดความเหลื่อมล้ำและเสริมสร้างประชาธิปไตยที่มีคุณภาพภายใต้ปัจจัยแวดล้อมวิกฤตต่างๆ โดยเฉพาะจาก COVID-19 ทั้งภายในและภายนอกประเทศ จากนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงภาคส่วนอื่น ๆ และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนวทางหรือวิธีการสำหรับขับเคลื่อนนโยบายการกระจายอำนาจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างประชาธิปไตยไทยที่มีคุณภาพรวมทั้งการพัฒนาในทุกมิติ เพื่อร่วมกันนำพาประเทศไทยไปสู่สังคมประชาธิปไตยที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ การอภิปรายมุมมองและประสบการณ์จากต่างประเทศ เรื่อง “Democracy, Decentralization and Inequality Reduction: Comparative Perspectives” ได้รับเกียรติจาก Mr.James Andersen เอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ประจำประเทศไทย ,Mr. Tsukasa Omori, First Secretary สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และ Mr. Jens Petter Olsen, Board Member, DNB Bank ประเทศนอร์เวย์ ดำเนินรายการ โดย ดร.ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ ประธานคณะกรรมการจัดงานประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 22
รวมทั้ง ศาสตราจารย์ วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ยังกล่าวถึงความสำคัญของประเด็นงานประชุมวิชาการในครั้งนี้ ว่า “หัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ คือ การให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจที่นำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างได้ผลนั้น ทำให้สามารถจัดการกับภาวะวิกฤตโดยเฉพาะการแก้ปัญหาในเชิงพื้นที่สะท้อนให้เห็นถึงการจัดการที่มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์การแก้ปัญหามากกว่าการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง รวมทั้งต้องมีการเชื่อมโยงกับนโยบายและแนวทางอันเป็นศูนย์กลางเพื่อการประสานงานอย่างเป็นระบบ นำไปสู่การลดช่องว่างให้แคบลง สร้างคุณภาพชีวิตให้กับทุกคนในสังคมอย่างเท่าเทียม” ซึ่งทุกท่านสามารถรับชมผ่าน Facebook Live สถาบันพระปกเกล้า