นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข (4ส) รุ่นที่ 15 กลุ่ม TRUST ได้รับเกียรติให้เข้าเสนอรายงานผลการจัดกิจกรรมสะท้อนความเป็นพหุวัฒนธรรม “ค่ายพหุวัฒนธรรมสมานฉันท์” แก่เยาวชนจากโครงการสานใจไทยสู่ใจใต้ รุ่นที่ 44 โดย พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนน์ ประธานองคมนตรี นายกมูลนิธิ “สานใจไทย สู่ใจใต้” ” พร้อมคณะฯ ร่วมเยี่ยมชมกิจกรรม

สำนักสันติวิธีและธรรมมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า โดยนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข (4ส) รุ่นที่ 15 กลุ่ม TRUST ได้รับเกียรติให้เข้าเสนอรายงานผลการจัดกิจกรรมสะท้อนความเป็นพหุวัฒนธรรม “ค่ายพหุวัฒนธรรมสมานฉันท์” แก่เยาวชนจากโครงการสานใจไทยสู่ใจใต้ รุ่นที่ 44
วันจันทร์ที่ 21 เมษายน 2568 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนน์ ประธานองคมนตรี นายกมูลนิธิ “สานใจไทย สู่ใจใต้” พร้อมคณะฯ เดินทางไปตรวจเยี่ยมเยาวชนและครอบครัวอุปถัมภ์ “โครงการสานใจไทย สู่ใจใต้” รุ่นที่ 44 ณ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสมุทรปราการ โดยมี นายศุภมิตร ชิณศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ พร้อมด้วยนายไพศาล พรหมยงค์ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสมุทรปราการ และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสมุทรปราการให้การต้อนรับ
ในครั้งนี้ ตัวแทนนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข (4ส) รุ่น 15 กลุ่ม TRUST นางสาวมยุรี ชวนชม และนายวราฤทธิ์ บุญเตี้ย ได้รับเกียรติให้เข้าเสนอรายงานผลการจัดกิจกรรมสะท้อนความเป็นพหุวัฒนธรรม “ค่ายพหุวัฒนธรรมสมานฉันท์” แก่เยาวชนจากโครงการสานใจไทยสู่ใจใต้ รุ่นที่ 44 จำนวน 18 คน เมื่อวันเสาร์ที่ 19 เมษายน 2568 โดยหัดทำสื่อ Social : TikTok หัวข้อ “ปากลัดพหุวัฒนธรรม” จำนวน 4 คลิป และกิจกรรมสร้างสรรค์ภาพศิลปะจากสีอะคริลิค หัวข้อ “ปากลัดพหุวัฒนธรรมในจินตนาการ” จำนวน 22 ผลงาน และนำเสนอต่อท่านประธานองคมนตรี 2 ผลงาน โดยเยาวชนอธิบายภาพการอยู่ร่วมกันของแต่ละศาสนาด้วยความสามัคคี ปรองดองสมานฉันท์ ในสังคมพหุวัฒนธรรม
ศิลปะสามารถเป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้าใจ การยอมรับในความหลากหลายของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นศาสนา วัฒนธรรม หรือเชื้อชาติ โดยศิลปะเปิดพื้นที่ให้เยาวชนได้แสดงออกอย่างเสรี ฝึกคิดวิเคราะห์และเข้าใจความรู้สึกของผู้คน รวมถึงฝึกการทำงานร่วมกัน รับฟังกันเพื่อแก้ไขปัญหา
ผลที่เกิดขึ้นในโครงการนี้ เยาวชนมีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับความแตกต่าง ลดอคติทางศาสนาและวัฒนธรรม อีกทั้งเป็นการสร้างพลังเยาวชนที่สามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในชุมชนท้องถิ่นได้ ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสงบ ปราศจากความรุนแรง ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการสานใจไทยสู่ใจใต้ และหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข (4ส)