Infographic

หน้าแรก | คลังความรู้

เลือกตั้งครั้งใหม่ ต้องเจออะไรบ้าง?




เลือกตั้งครั้งใหม่ ต้องเจออะไรบ้าง?
โดย ณัชชาภัทร อมรกุล นักวิชาการชำนาญการ สถาบันพระปกเกล้า
อ่านต่อที่ มติชน ออนไลน์ :  Click
วันที่ 2 กันยายน 2560 - 12:11 น. 

          แม้กระทั่งบัดนี้จะยังไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการว่า “การเลือกตั้ง” จะเกิดขึ้นได้อย่างเร็วที่สุดในช่วงเวลาใด แต่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 บ่งบอกว่า กฎกติกาที่เกี่ยวกับพรรคการเมืองและการเลือกตั้งทั้งหลาย จะทำให้หน้าตาของการเมืองไทยเปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งโครงสร้างของพรรคการเมือง ความเข้มแข็งของพรรคการเมือง และรูปแบบของรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้ง
ระบบเลือกตั้งแบบใหม่?

          รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้เข้าไปแก้ไขกติกาของการเลือกตั้ง จากระบบผสมเสียงข้างมาก (Mixed Member Majoritarian System – MMM) เป็นระบบจัดสรรปันส่วนผสม (Mixed Member Apportionment System - MMA) ซึ่งเคยใช้ใน 4-5 ประเทศทั่วโลก เช่น อัลบาเนีย (1992) เกาหลีใต้ (1996-2000) เยอรมนี (1949) การเลือกตั้งแบบนี้ในระดับประเทศในเหล่านั้นได้เลิกใช้ไปแล้ว ปัจจุบันนี้มีเพียงแคว้นบาเดน วุดเดนเบิร์ก ซึ่งเป็นรัฐหนึ่งในเยอรมนีเท่านั้นที่ใช้ระบบนี้

          ระบบ MMM ที่ใช้กันมาก่อนหน้านี้ให้มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ แยกกันนับคะแนนไปเลย ใบหนึ่งให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเลือก “คนที่รัก” อีกใบหนึ่งให้เลือก “พรรคที่ชอบ” วิธีการนี้แก้ไขปัญหาการยึดติดตัวบุคคล และแข่งขันภายในพรรคเดียวกัน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความเป็นเอกภาพของพรรคการเมือง

           แม้ว่าระบบ MMM จะมีข้อดีข้างต้น แต่ กรธ. มองว่าข้อเสียของระบบ MMM ก็มีอยู่ โดยในบัตรเลือกตั้งใบแรกนั้นใช้การนับคะแนนเสียงแบบเสียงข้างมากอย่างง่ายทำให้ในแต่ละเขตเลือกตั้งมีคนชนะเลือกตั้งเพียงคนเดียว คะแนนที่ลงคนอื่น ๆ กลายเป็น “คะแนนเสียงตกน้ำ” เพราะเมื่อแพ้แล้วจะจมหายไปกับสายน้ำ

          กรธ. จึงนำระบบ MMA มาใช้ โดยมีข้อดีคือจะเป็นการช่วย งมคะแนนเสียงตกน้ำ ให้กลับขึ้นมา ให้ทุกคะแนนให้มีความหมาย ไม่ให้คะแนนเสียงใด ๆ ต้องสูญเปล่า

          ระบบเลือกตั้งแบบใหม่นี้จึงให้ใช้บัตรเดียว ให้สามารถเลือกได้ทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต 350 คน และแบบบัญชีรายชื่อ 150 คน โดยจำนวน ส.ส. ทั้งแบบบัญชีรายชื่อ และ ส.ส. แบบแบ่งเขตของแต่ละพรรคจะถูกคำนวณให้อยู่ในขันเดียวกัน เพราะจะเป็นการนำคะแนนรวมที่แต่ละพรรคได้รับมาแบ่งเป็นสัดส่วนของก่อนว่า แต่ละพรรคจะต้องได้ตำแหน่ง ส.ส. ทั้งหมดเท่าไหร่ แล้วนำมาหักลบกับ ส.ส. แบบแบ่งเขต ก็จะทำให้ได้จำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรค
ดังนั้น ใครที่ลงสมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต แล้วได้คะแนนสูงสุดในเขตเลือกตั้งนั้น ก็จะได้ตำแหน่ง ส.ส. เขตไปก่อนเลย ส่วน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ จะต้องมาดูกันอีกทีว่าพรรคของตนได้สัดส่วนเท่าไหร่ในคะแนนเสียงรวมกันทั่วประเทศ แล้วดูตามลำดับที่ในบัญชีรายชื่อของพรรคตน (Pundit, 2016)

อ่านต่อที่ มติชน ออนไลน์ :  Click


Share :

กลับไปหน้าหลัก

สถาบันพระปกเกล้า