หนังสือและบทความ

หน้าแรก | คลังความรู้

กระบวนการสร้างสันติภาพ : กรณีศึกษาประเทศโคลอมเบีย




ชื่อบทความ กระบวนการสร้างสันติภาพ : กรณีศึกษาประเทศโคลอมเบีย
โดย อภิญญา ดิสสะมาน สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า

          บทความชิ้นนี้เป็นการรวบรวมกระบวนการสร้าง สันติภาพที่เกิดขึ้นในประเทศแถบอเมริกาใต้คือ โคลอมเบีย ผู้เขียนเห็นความสำคัญของกรณีศึกษา ประเทศนี้เนื่องจากประเทศโคลอมเบียได้นำ กระบวนการยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justice) มาใช้อย่างจริงจังในการปฏิรูปกฎหมายของ ประเทศ ประสบการณ์ความขัดแย้งในประเทศ โคลอมเบียนั้นสามารถเป็นกรณีศึกษาแก่ประเทศไทย ในเรื่องของการมีความพยายามที่จะเปิดพื้นที่พูดคุย สันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และลดความ รุนแรงในประเทศโดยมีการสร้างกระบวนการยุติธรรม สมานฉันท์มาประยุกต์ใช้กับบริบทของประเทศและ กฎหมายเป็นตัวนำเพื่อสร้างกระบวนการปรองดอง และเปลี่ยนแปลงความรุนแรงมาเป็นการขึ้นโต๊ะเจรจา เพื่อเสนอข้อต่อรองอันเป็นทางออกของทั้งสองฝ่ายได้ สถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศโคลอมเบียเชื่อม โยงเกี่ยวข้องทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมจน เกิดมีการจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธขึ้นต่อต้านรัฐบาล โคลอมเบีย และกลายเป็นความขัดแย้งจากกองกำลัง ติดอาวุธ (Armed Conflict) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็น สาเหตุหลักในการก่อให้เกิดความรุนแรงขึ้นภายใน ประเทศมาตลอดระยะเวลากว่า 50 ปี ความขัดแย้งและ ความรุนแรงในประเทศโคลอมเบียมีความซับซ้อนสูง และกรอบแนวคิดกระบวนการสร้างสันติภาพสำคัญใน ประเทศโคลอมเบีย คือการใช้กรอบกระบวนการ ยุติธรรมเปลี่ยนผ่านในการแก้ไขปัญหาก่อนและหลัง ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในประเทศ

กระบวนการสร้างสันติภาพ กรณีศึกษาประเทศโคลอมเบีย (140 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

ข้อสังเกตต่อพระราชกาหนดให้อานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคมที่ได้รับผลจากการระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563

ดาวน์โหลด 10 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สินค้าประชาธิปไตยกับมหกรรมเลือกตั้งในมุมมอง ดร.ถวิลวดี บุรีกุล

ดาวน์โหลด 9 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

ความเชื่อมั่นต่อสถาบันต่างๆและความพึงพอใจต่อการบริการสาธารณะ พ.ศ. 2561 และสรุปผลการสำรวจ พ.ศ.2545-2561

ดาวน์โหลด 172 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า