งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

ประสิทธิผลของพอดแคสต์ในการพัฒนาประชาธิปไตย โดยวิธีการระดมความคิดเห็นแบบสร้างสรรค์ (Creative Sandbox Method)

ระบอบประชาธิปไตย 07 กุมภาพันธ์ 2565



รายงานการวิจัย ประสิทธิผลของพอดแคสต์ในการพัฒนาประชาธิปไตย ภายใต้โครงการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมประชาธิปไตย โดยวิธีการระดมความคิดเห็นแบบสร้างสรรค์ (Creative Sandbox Method) (63089)
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนินทร เพ็ญสูตร
เสนอ สถาบันพระปกเกล้า

             พอดแคสต์ถือเป็นสื่อประเภทสื่อใหม่ คือ เป็นสื่อที่ผู้ใช้งานสามารถรับรู้สารผ่านระบบออนไลน์ ในปัจจุบันมีการใช้พอดแคสต์เป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารทางการเมือง โดยที่การสื่อสารดังกล่าวมีทั้ง การสื่อสารโดยองค์กรสื่อ องค์กรการศึกษา-นักวิชาการ นักการเมือง และบุคคลทั่วไป ปัญหาที่สื่อใหม่กาลังเผชิญคือปัญหาเรื่องข่าวปลอม (Fake News) ที่ส่งผลอย่างมีนัยสาคัญ ทางการเมือง เช่น การตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนหลังจากการบริโภคข้อมูลข่าวสารประเภทข่าวปลอม ปัญหาทางจริยธรรมบนโลกออนไลน์ ที่ในปัจจุบันการใช้ Darknet มีการก่ออาชญากรรมทั้งอาชญากรรมทางด้านธุรกรรมการเงิน อาชญากรรมทางเพศ อาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยาเสพติด ฯลฯ ปัญหาอีกประการหนึ่งที่อุบัติขึ้นผ่านการสื่อสารบนโลกออนไลน์ คือ ปัญหาการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ (cyberbullying) ที่ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจต่อผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง นอกจากนี้ ยังมีปัญหาที่เกิดจากสภาวะอันล้นเกินของข้อมูล ที่สามารถส่งผลกระทบเชิงลบทางด้านจิตใจ

ประสิทธิผลของพอดแคสต์ในการพัฒนาประชาธิปไตย โดยวิธีการระดมความคิดเห็นแบบสร้างสรรค์ (Creative Sandbox Method) (8 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

คุณภาพชีวิตของข้าราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ดาวน์โหลด 19 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

ภาพล้อและการ์ตูนการเมืองในสังคมไทย (พ.ศ. 2465-2475)

ดาวน์โหลด 95 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น

ดาวน์โหลด 583 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า