งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

โครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟรางคู่ : ศักยภาพ และโอกาสทางด้านเศรษฐกิจ สังคม กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม




รายงานวิจัยชุมชนเรื่อง “โครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟรางคู่ : ศักยภาพ และโอกาสทางด้านเศรษฐกิจ สังคม กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม”
ดำเนินการวิจัยโดย นายทวีศักดิ์ ตั้งปฐมวงศ์
สนับสนุนโดย สถาบันพระปกเกล้า

       การพัฒนาการคมนาคมทางราง ถือได้ว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อการเชื่อมต่อการเดินทาง และการขนส่งสินค้าในแต่ละพื้นที่ของประเทศเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะ
การก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ คือ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม เป็นโครงการรถไฟทางคู่ (Double Track) จึงนับเป็นโครงการสำคัญที่จะเพิ่มความสะดวกและเชื่อมต่อโครงข่าย ในขณะเดียวกันจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่กึ่งกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีที่ตั้งเป็นเส้นทางเครือข่ายของเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างประเทศที่สำคัญ คือ เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East–West Economic Corridor: E-WEC) ซึ่งเป็นจังหวัดเป้าหมายของโครงการสร้างเส้นทางรถไฟระบบรางคู่และเป็นหนึ่งในสถานีรถไฟขนาดใหญ่ตามโครงการ จึงถือได้ว่ามีผลกระทบโดยตรงจากโครงการพัฒนาระบบรางนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

       งนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งศึกษาความสำคัญ ศักยภาพ และรายละเอียดของโครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟรางคู่ รวมไปถึงการจัดทำข้อเสนอและรายงานสรุปแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในจังหวัด งานวิจัยชิ้นนี้ได้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยมีองค์ประกอบในการศึกษาทั้งหมด 4 ด้าน ด้วยกัน คือ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 2) โครงข่ายการคมนาคมขนส่งทางรางในประเทศไทย 3) แนวคิดการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่ และ 4) การขยายตัวของเมืองเป็นกรอบในการวิจัย โดยทั้งสี่ด้านนี้เป็นการวิจัยเอกสารราชการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

โครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟรางคู่ - ศักยภาพ และโอกาสทางด้านเศรษฐกิจ สังคม กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม (249 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

สรุปผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชน หลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550

ดาวน์โหลด 8 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การประยุกต์ใช้อุดมการณ์ประชานิยมฝ่ายซ้ายในพรรคการเมือง กรณีศึกษาในประเทศสเปน กรีซ และไทย

ดาวน์โหลด 57 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อรายจ่ายด้านการศึกษาในประเทศไทย

ดาวน์โหลด 37 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า