งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรณีศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์




โครงการวิจัยเรื่อง การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรณีศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์
The Study of Political movement and  Election Behavior of the House of Representatives 2019: A Case Study of Kalasin Province
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กตัญญู แก้วหานาม,อาจารย์ ดร.พิมพ์ลิขิต  แก้วหานาม
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ได้รับทุนสนับสนุนโครงการวิจัยจากสถาบันพระปกเกล้า ปีงบประมาณ 2562

            การเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2562 เป็นการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่ประเทศไทยไม่ได้มีการเลือกตั้งติดต่อกันถึงระยะเวลา 8 ปี ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในโครงสร้างของทางอำนาจ และโครงสร้างของสถาบันการเมืองไทยอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน  ในส่วนของโครงสร้างทางอำนาจนั้น การเว้นว่างของการเลือกตั้งในห้วงระยะเวลา 8 ปี นี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องในบริบทของความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยในช่วงระยะเวลากว่าทศวรรษก่อนหน้านั้น โดยชนวนของความขัดแย้งล่าสุด อยู่ที่เรื่องพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ซึ่งได้นำไปสู่การต่อต้านรัฐบาล เหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง และการใช้ความรุนแรงทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่หลายเมืองในประเทศไทย   

ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (202 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

การมีส่วนร่วมเพื่อคุณภาพชีวิตชุมชน และการพัฒนาที่ยั่งยืน

ดาวน์โหลด 80 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การศึกษากลไกเพื่อนำไปสู่ความเท่าเทียม ตามเป้าหมายที่ 16 ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Goal 16 of the United Nations’ Sustainable Development Goals)

ดาวน์โหลด 304 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน

ดาวน์โหลด 168 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า