หนังสือและบทความ

หน้าแรก | คลังความรู้

กฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดให้รัฐเข้าถึง หรือได้มาซึ่งข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกัน : กรณีศึกษาต่างประเทศ




รายงานวิจัย เรื่อง กฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดให้รัฐเข้าถึง หรือได้มาซึ่งข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกัน : กรณีศึกษาต่างประเทศ
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล 
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พฤศจิกายน 2561
สนับสนุนโดย สำนักงานส่งเสริมวิชาการรัฐสภา สถาบันพระปกเกล้า

            ปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารได้เจริญก้าวหน้ามากขึ้น การเข้าถึงหรือการได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารที่บุคคลสื่อสารกันจึงอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. การเข้าถึงหรือการได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารที่บุคคลสื่อสารถึงกันเฉพาะหน้า ซึ่งอาจทำโดยไม่ได้ใช้อุปกรณ์ใด ๆ ช่วย 2. การเข้าถึงหรือได้มาซึ่งข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกันทางโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ที่มีสาย หรือโทรศัพท์ไร้สาย และ 3. การเข้าถึงหรือการได้มาซึ่งข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกันทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ดี รัฐจำนวนมากได้ยินยอมให้มีกฎหมายในการที่เจ้าหน้าที่รัฐสามารถเข้าถึงและได้มาซึ่งข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกันได้ โดยเฉพาะกรณีที่เป็นเรื่องความมั่นคงของรัฐ หรือความผิดอาญาบางลักษณะ ที่มีความจำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกันเพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริงข้างต้นจึงเป็นความท้าทายของรัฐที่เป็นนิติรัฐในปัจจุบันที่จะหาความสมดุลระหว่างสิทธิส่วนบุคคลซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่งกับการธำรงรักษาความมั่นคงของรัฐในด้านต่าง ๆ ให้คงอยู่อย่างมีเสถียรภาพ

กฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดให้รัฐเข้าถึง หรือได้มาซึ่งข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกัน (49 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาอนาคตและฉากทัศน์การเมืองไทยเพื่อสร้างประชาธิปไตยที่ยั่งยืน ในมิติพรรคการเมืองไทย

ดาวน์โหลด 40 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สันติวัฒนธรรมในสถาบันการเมือง เพื่อเสริมสร้างกระบวนการปรองดองของประเทศ กรณีศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และบางส่วนของ จ.สงขลา)

ดาวน์โหลด 50 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับแนวพระราชดำริด้านการปกครองท้องถิ่น

ดาวน์โหลด 122 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า