หนังสือและบทความ

หน้าแรก | คลังความรู้

อีกมุมหนึ่งต่อรากเหง้าความขัดแย้งและทิศทางการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่ชายแดนใต้




เมธัส อนุวัตรอุดม
นักวิชาการ สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า

              บนความเคยชินที่ผู้คนได้รับรู้ถึงเหตุร้ายรายวันตลอด 7 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องและสังคมไทยจะต้องตระหนักคือ ความรุนแรงดังกล่าวเป็นเพียงอาการของการเจ็บป่วยเรื้อรัง แน่นอนว่าการดำเนินการเพื่อยุติเหตุรายวันโดยยุทธการทางทหารเป็นสิ่งจำเป็น แต่กระนั้นก็เป็นเพียงการจำกัดพื้นที่การต่อสู้ทางกายภาพของผู้ก่อความไม่สงบและเป็นการระงับอาการของโรคไม่ให้เลวร้ายลงชั่วคราวเท่านั้น 
สิ่งสำคัญที่จะสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืนคือ การมองให้เห็นถึงรากเหง้าของปัญหา (Root Causes of Conflict) ทำความเข้าใจเงื่อนไขที่หล่อเลี้ยงความรุนแรง และมีความจริงจังจริงใจที่จะหาหนทางขจัดความคับของใจ (Grievances) ต่างๆที่ประชาชนในพื้นที่ส่วนหนึ่งรู้สึกว่าตนเองกำลังประสบอยู่ เพื่อปลดล๊อคเงื่อนไขของความรุนแรงที่มีอยู่ให้ได้ โดยมีสมมุติฐานว่าหากปัญหารากเหง้าได้รับการแก้ไขแล้ว ตัวละครอื่นๆที่มาผสมโรงทั้งกลุ่มอิทธิพลหรือกลุ่มบุคคลที่คอยแสวงประโยชน์จากสถานการณ์จะถูกจำกัดพื้นทและหลบหายไปในที่สุด 
คำถามตั้งต้นที่สำคัญคือ เพราะเหตใดอุดมการณ์ต่อสู้เพื่อเอกราชจึงยังคงมีพลังอยู่เสมอมาในการปลุกเราคนไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูจำนวนหนึ่งให้ลุกขึ้นสู้กับรัฐไทย?

อีกมุมหนึ่งต่อรากเหง้าความขัดแย้งและทิศทางการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่ชายแดนใต้ (104 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

รายงานสถานการณ์การกระจายอำนาจ ประจำปี พ.ศ. 2564 : บทสำรวจว่าด้วย บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการวิกฤติท่ามกลางการแพร่ระบาดของ โควิด-19

ดาวน์โหลด 51 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

บทบาทของประชาสังคมที่มีต่อการเมืองในด้านการเลือกตั้งของประเทศไทย

ดาวน์โหลด 8 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

หลักสูตรเตรียมความพร้อมสำหรับการเมืองระดับชาติ

ดาวน์โหลด 19 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า