หนังสือและบทความ

หน้าแรก | คลังความรู้

บทบาทของประชาสังคมที่มีผลต่อการเมืองในด้านการเลือกตั้งของประเทศไทย




ศาสตราจารย์ โรเบิร์ต บี อัลบริททัน และ ดร. ถวิลวดี บุรีกุล "...แนวคิดเกี่ยวกับประชาสังคม (Civil Society) ที่ได้นำมาใช้เป็นกฏเกณฑ์ทางรัฐศาสตร์นั้นมีความคลุมเครือเป็นอย่างมาก โดยความคลุมเครือดังกล่าวนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเริ่มต้นที่มาจากความเคลื่อนไหวในการปฏิวัติเพื่อต่อต้านระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย แนวคิดนี้ได้กลายเป็นปัญหามากขึ้น ในบริบทของการสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบอบประชาธิปไตย ถึงแม้ว่า Linz และ Stepan (2001) ได้เสนอว่า จะต้องมีเงื่อนไขสำหรับ “ประชาสังคม ที่เป็นอิสระและความคงอยู่” เพื่อที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของ Bernan (1997) นั้นขัดแย้งกับคำยืนยันของ Schnitter (1997) ที่ว่า ประชาสังคมนั้นมีส่วนช่วยในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบอบประชาธิปไตย โดย Bernan แย้งว่า ในระบอบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยอยู่แล้ว ประชาสังคมอาจเป็น พื้นฐานในการที่จะจัดตั้งระบอบการปกครองแบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ เช่นยุคของนาซีในเยอรมนี ในสมัยสาธารณรัฐไวมาร์ (Weinar Republic) ก็ได้ ความคลุมเครืออีกประการหนึ่งของแนวคิดนี้ มาจากการที่แนวคิดนี้เหลื่อมกับแนวคิด “ต้นทุนทางสังคม” โดย Putnan (2000) ได้อธิบายถึงการมีส่วนร่วมในกลุ่มและการเคลื่อนไหวที่มีการจัดตั้งว่า เป็นรูปแบบหนึ่งของต้นทุนทางสังคมและปรากฏการณ์นี้ดูเหมือนจะมีความคล้ายคลึงกันอย่างน่าสังเกต กับคำอธิบายของ Linz และ Stepan (2001) เกี่ยวกับประชาสังคม1 ในหลายๆ ทางดูเหมือนว่า ประชาสังคมนี้ คือ รูปแบบหนึ่งของต้นทุนทางสังคม โดยแนวคิดหลังนี้จะรวมถึงสินทรัพย์อื่นๆ ของสังคม เช่น ระดับการศึกษาและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในสังคม..."

ศาสตราจารย์ โรเบิร์ต บี อัลบริททัน และ ดร. ถวิลวดี บุรีกุล
           "...แนวคิดเกี่ยวกับประชาสังคม (Civil Society) ที่ได้นำมาใช้เป็นกฏเกณฑ์ทางรัฐศาสตร์นั้นมีความคลุมเครือเป็นอย่างมาก โดยความคลุมเครือดังกล่าวนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเริ่มต้นที่มาจากความเคลื่อนไหวในการปฏิวัติเพื่อต่อต้านระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย แนวคิดนี้ได้กลายเป็นปัญหามากขึ้น ในบริบทของการสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบอบประชาธิปไตย ถึงแม้ว่า Linz และ Stepan (2001) ได้เสนอว่า จะต้องมีเงื่อนไขสำหรับ “ประชาสังคม ที่เป็นอิสระและความคงอยู่” เพื่อที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของ Bernan (1997) นั้นขัดแย้งกับคำยืนยันของ Schnitter (1997) ที่ว่า ประชาสังคมนั้นมีส่วนช่วยในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบอบประชาธิปไตย โดย Bernan แย้งว่า ในระบอบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยอยู่แล้ว ประชาสังคมอาจเป็น พื้นฐานในการที่จะจัดตั้งระบอบการปกครองแบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ เช่นยุคของนาซีในเยอรมนี ในสมัยสาธารณรัฐไวมาร์ (Weinar Republic) ก็ได้
ความคลุมเครืออีกประการหนึ่งของแนวคิดนี้ มาจากการที่แนวคิดนี้เหลื่อมกับแนวคิด “ต้นทุนทางสังคม” โดย Putnan (2000) ได้อธิบายถึงการมีส่วนร่วมในกลุ่มและการเคลื่อนไหวที่มีการจัดตั้งว่า เป็นรูปแบบหนึ่งของต้นทุนทางสังคมและปรากฏการณ์นี้ดูเหมือนจะมีความคล้ายคลึงกันอย่างน่าสังเกต กับคำอธิบายของ Linz และ Stepan (2001) เกี่ยวกับประชาสังคม1 ในหลายๆ ทางดูเหมือนว่า ประชาสังคมนี้ คือ รูปแบบหนึ่งของต้นทุนทางสังคม โดยแนวคิดหลังนี้จะรวมถึงสินทรัพย์อื่นๆ ของสังคม เช่น ระดับการศึกษาและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในสังคม..."

บทบาทของประชาสังคมที่มีผลต่อการเมืองในด้านการเลือกตั้งของประเทศไทย (45 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

ทศพิธราชธรรมกับพระมหากษัตริย์ไทย เอกสารวิชาการและบทความ

ดาวน์โหลด 62 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาและงบประมาณ โดยใช้ทุนทางสังคมเป็นฐาน

ดาวน์โหลด 66 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การเมืองการปกครองไทย 2550

ดาวน์โหลด 127 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า