งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

รัฐไทยกับการเมืองของการจัดการทรัพยากรป่าไม้และที่ดิน กรณีแม่แจ่มโมเดล : ความคิด การเคลื่อนไหว และนโยบาย




ชื่อเรื่อง รัฐไทยกับการเมืองของการจัดการทรัพยากรป่าไม้และที่ดิน กรณีแม่แจ่มโมเดล : ความคิด การเคลื่อนไหว และนโยบาย
(THAI STATE AND THE POLITICS OF LAND AND FOREST MANAGEMENT IN-CASE OF MEA JAM MODEL: IDEAS, MOVEMENTS, AND POLICIES)
โดย โอฬาร อ่องฬะ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันพระปกเกล้า

           งานศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจและศึกษาความคิด การเคลื่อนไหวปฏิบัติการต่อรองต่อสู้กับการกำหนดนโยบายการจัดการทรัพยากรป่าไม้และที่ดินของรัฐ โดยใช้กรณีศึกษาแม่แจ่มโมเดล จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านการวิเคราะห์ความคิด การเคลื่อนไหวและนโยบาย การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการจัดการทรัพยากร ป่าไม้และที่ดิน ไม่สามารถแยกออกจากมิติทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจไปได้ การกำหนดนโยบายป่าไม้และที่ดินของรัฐที่ผ่านมามุ่งเน้นใช้ทรัพยากรไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ในทางกลับก็กีดกันและควบคุมไม่ให้ชุมชนรวมถึงภาคส่วนอื่นๆ เข้ามามีส่วนในการจัดการและใช้ประโยชน์ ความขัดแย้งจากการกำหนดทิศทางและนโยบายนำไปสู่การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนที่ต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรม สิทธิในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวมวลชนผ่านการชุมนุมเรียกร้อง รวมไปจนถึงการเคลื่อนไหวช่วงชิงพื้นที่ทางความคิดเพื่อเชื่อมโยงพลังทางสังคมใหม่ๆ เข้ามาร่วมสนับสนุนการแก้ไขปัญหา


Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

การสำรวจข้อมูลประเด็นความขัดแย้งจากการดำเนินโครงการตามแนวนโยบายของรัฐ (Conflict Mapping Phase 3)

ดาวน์โหลด 21 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การถอดบทเรียนชุมชนเพื่อการปฏิรูปกระบวนการจัดการทรัพยากร : พลวัตรแห่งการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี

ดาวน์โหลด 128 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

ประสิทธิผลของกลไกการตรวจสอบและชี้ขาดการเลือกตั้งในการทำให้การเลือกตั้งสุจริตและเที่ยงธรรม

ดาวน์โหลด 19 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า