งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

การพัฒนาตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองในภาคประชาสังคม: กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดเชียงราย ศรีสะเกษ และ นครศรีธรรมราช




ชื่อเรื่อง การพัฒนาตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองในภาคประชาสังคม: กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดเชียงราย ศรีสะเกษ และ นครศรีธรรมราช
ชื่อผู้วิจัย ศรัณยุ หมั้นทรัพย์
ปีงบประมาณ 2556 2557
สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง

         การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองในภาคประชาสังคมที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของพื้นที่ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สังเคราะห์ตัวชี้วัด และ วิเคราะห์องค์ประกอบตัวชี้วัดความเป็นพลเมือง โดยใช้แนวคิดพลเมือง 3 แบบของ Joel Westheimer และ การพัฒนาที่มีพื้นที่และชุมชนเป็นฐาน เป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำชุมชนและภาคประชาสังคมใน 3 จังหวัดเป้าหมาย จำนวน 180 คน ผลการวิจัยพบว่า พลเมืองไทยให้ความสาคัญกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจแบบลำดับสูง ต่างยึดติดกับความเชื่อ พึ่งพิง และยอมรับสภาพเมื่อเกิดปัญหามากกว่าการให้ความสาคัญกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเสมอภาคเท่าเทียม พลเมืองไทยจึงมีลักษณะพึ่งพิงและขาดความมั่นใจในตน สำหรับภาคประชาสังคมในทั้ง 3 พื้นที่ต้องการพลเมืองที่มีคุณลักษณะ 6 ประการ คือ 1) มีจิตสาธารณะ 2) รู้เรื่องสิทธิ เสรีภาพ และมีสำนึกทางการเมือง 3) มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัยและปฏิบัติตามข้อตกลงของส่วนรวม 4) รับฟังความคิดเห็นและเคารพในความเสมอภาคเท่าเทียม 5) มีวิสัยทัศน์ และสร้างนวัตกรรม 6) จัดการตนเองและพึ่งตนเองได้ และพัฒนาตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองได้ 3 แบบ คือ 1) พลเมืองฐานราก ประกอบด้วย 21 องค์ประกอบของลักษณะพื้นฐานที่พลเมืองต้องมีและพึงปฏิบัติในฐานะพลเมืองของรัฐ 2) พลเมืองที่มีส่วนร่วม ประกอบด้วย 25 องค์ประกอบของการมีส่วนร่วมในทุกระดับ ทั้งในสาธารณะและในทางการเมือง และ3) พลเมืองตระหนักรู้ ประกอบด้วย 21 องค์ประกอบทางความคิดอุดมการณ์ ความเชื่อ และทัศนคติที่ส่งเสริมประชาธิปไตย และตระหนักในความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยแบบสอบถามคุณลักษณะความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยในภาคประชาสังคม มีความตรงตามเนื้อหาและความเชื่อมั่น Cronbach’s Alpha ที่ 0.96

การพัฒนาตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองในภาคประชาสังคม (76 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

The Ideological Construction of femininity

ดาวน์โหลด 11 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การศึกษากลไกเพื่อนำไปสู่ความเท่าเทียม ตามเป้าหมายที่ 16 ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Goal 16 of the United Nations’ Sustainable Development Goals)

ดาวน์โหลด 304 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การศึกษาและพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมตามหลักไตรสิกขา เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม ของผู้บริหารและหัวหน้างานองค์กร

ดาวน์โหลด 77 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า