หน้าแรก | ข่าวสาร
เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 : วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า จัดเสวนา ออนไลน์ ภายใต้แนวคิด Local Talk Series : Time to Vote ถึงเวลาเลือกตั้งท้องถิ่น กับประเด็น EP 4: “เทศบาลในบริบทการเปลี่ยนแปลงเลือกใครให้ตรงสเปค?” โดย ศ.วุฒิสาร ตันไชย (เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า) เป็นวิทยากร ดำเนินรายการ โดย ผศ.ดร.วสันต์ เหลืองประภัสร์ (ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ณ ห้องประชุม สถาบันพระปกเกล้า
ศ.วุฒิสาร ตันไชย (เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า) กล่าวในการเสวนาว่า “เทศบาล” เป็นหน่วยปกครองท้องถิ่น โดยมีหลักเกณฑ์แบ่งตามความหนาแน่นของประชากร จึงจัดตั้งเป็นเทศบาล ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเมือง แบ่งออกเป็น เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล และมีการเลือกตั้งนายกเทศบาลโดยตรง และเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล
ในวันนี้ "เทศบาล" ทำหน้าที่ดูแลเมือง และประชาชนในเขตเมือง หน้าที่ของเมืองเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต คือ เมืองทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน การลงทุน สุขภาวะ และสร้างความสุขให้กับประชาชน ด้วย ซึ่งบทบาทของเมืองบางเมืองทำหน้าที่ในการใช้โอกาสเป็นเมืองเศรษฐกิจ เมืองท่องเที่ยว เช่น สุโขทัย พระนครศรีอยุธยา และภูเก็ต เพื่อทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ ทำให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น
เทศบาล มีความหลากหลายและแตกต่างจากอดีต ในปัจจุบัน เทศบาลมีบทบาทมากขึ้น เช่น ด้านการศึกษา สร้างโรงเรียน ด้านสาธารณสุข สร้างสถานพยาบาล ความสามารถของเทศบาลต้องตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่และความต้องการของประชาชน ความท้าทายของเทศบาล ที่แตกต่างจากอดีต คือ การตอบสนองความต้องการด้านเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม การคมนาคม ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เมกกะเทรนด์ สมาร์ทซิตี้ การจัดบริการที่เป็นธรรมในสังคม รวมทั้งโอกาสในการพัฒนาเป็นพื้นที่พิเศษ เช่น พื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่ท่องเที่ยว เป็นต้น ต้องมองหน้าที่ของเทศบาลในอนาคตไปอีก 5-10 ปี
เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า มองว่า การเลือกตั้งเทศบาลที่จะขึ้นในวันที่ 28 มีนาคม 2564 นี้ การเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกผู้บริหารที่มีผลงานในพื้นที่ ในขณะเดียวกันก็จะเป็นบทลงโทษกับผู้บริหารท้องถิ่นที่ไม่ได้สร้างผลงานในพื้นที่
การเลือกตั้งท้องถิ่นแตกต่างจากการเลือกตั้งระดับชาติ ซึ่งเลือกตั้งระดับชาติ นโยบายพรรคเป็นสิ่งสำคัญ แต่การเลือกตั้งท้องถิ่นตัวบุคคลเป็นสิ่งสำคัญ ประชาชนจึงสามารถตัดสินใจได้อย่างน้อย 2 เรื่อง เรื่องแรกคือ คุณสมบัติตัวบุคค เรื่องที่สอง คือนโยบายวิสัยทัศน์ของผู้สมัครที่สามารถทำได้จริง
ผู้ออกเสียงเลือกตั้งต้องเข้าใจว่า บทบาทหน้าที่ของเทศบาลคืออะไร และมีหลักในการพิจารณาการเลือกตั้ง จากคุณสมบัติ ความเหมาะสม ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ รวมทั้งมองว่า ผู้บริหารคนเก่าอาจจะมีความได้เปรียบมากกว่าคนหน้าใหม่ ถ้าเป็นผู้บริหารที่เป็นนักบริหารเมือง ไม่ใช่นักการเมือง ที่สำคัญคือ นโยบาย การกำหนดอนาคตของการบริหารงานในพื้นที่ ภายหลังจากการเลือกตั้งครั้งนี้ ภูมิทัศน์การเมืองท้องถิ่นจะเปลี่ยนไป เทศบาล เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีความก้าวหน้าในการบริหารงานมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรม เทคโนโลยี เทศบาลต้องมองเชิงลึกถึงปัญหาในพื้นที่ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมด้วย เทศบาลต้องมีการวางแผนและบริหารจัดการ ได้แก่