ภาพกิจกรรม

หน้าแรก | ข่าวสาร

สถาบันพระปกเกล้า ร่วมนำเสนอผลงานวิชาการเพื่อเป็นพลังแห่งความร่วมมือสร้างรากฐานชับเคลื่อนสังคม ในงาน"สัมมนาวิชาการหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง 6 สถาบัน ครั้งที่ 13"


19 มิถุนายน 2567 ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร อาคารอเนกประสงค์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ  สถาบันพระปกเกล้า นำโดย ดร.ถวิลดี บุรีกุล รองเลชาธิการสถาบันพระปกเกล้า รศ.ดร.อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า นางณัชชาภัทร อมรกุล รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยการเมืองการปกครอง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่หลักสูตรฯ และผู้แทนนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า ร่วมงาน "สัมมนาวิชาการหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง 6 สถาบัน ครั้งที่ 13"  โดยความร่วมมือ จาก 6 สถาบัน ประกอบด้วย

  1. หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) สถาบันพัฒนาข้าราซการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม วิทยาลัยการยุติธรรม
  2. หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร) สถาบันพระปกเกล้า
  3. หลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง (พตส.) สถาบันวิทยาการพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
  4. หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิซาการป้องกันประเทศ
  5. หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการค้าและการพาณิชย์ (TEPCOT) สถาบันวิทยาการการค้ามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันริทยาการตลาดทุน (วตท.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ
  6. หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยการสัมมนาวิชาการ 6 สถาบัน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่แลกเปลี่ยนผลงานทางวิชาการ

ระหว่างผู้เข้ารับการอบรมทั้ง 6 หลักสูตร และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิซาการระหว่างสถาบันโดยเป็นการนำเสนอผลงานวิจัยทางวิชาการในมิติของเศรษฐกิจ การค้า สังคม ความมั่นคง และกระบวนการยุติธรรม อันจะช่วยให้เกิดพลังแห่งการพัฒนาประเทศชาติและสังคมไทยอย่างยั่งยืน 

ได้รับเกียรติจาก นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มอบของที่ระลึกให้ผู้บริหารทั้ง 6 สถาบัน เสวนาเรื่อง สานพลัง ลดความเหลื่อมล้ำ นำไทยยั่งยืน โดยผู้แทนนักศึกษาทั้ง 6 สถาบัน

ในปี 2567 นี้ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร โดยนักศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร( วปอ.) รุ่นที่ 66 เป็นเจ้าภาพในการจัดสัมมนาครั้งนี้ ได้มีการเดินทางไปร่วมหารือในลักษณะแลกเปลี่ยน การเยือนระหว่าง 6 สถาบัน ซึ่งผลจากการประชุมร่วมกันเห็นตรงกันว่า 'ความเหลื่อมล้ำ' เป็นประเด็นสำคัญ ในการพัฒนาอย่างยั่งยืนเนื่องจากมีผลกระทบในหลายด้านที่สามารถขัดขวางความเจริญก้าวหน้าและความเสถียรภาพของสังคมดังนี้: 

  1. ความยากจนและความเป็นอยู่ที่ไม่ดี: ความเหลื่อมล้ำทำให้กลุ่มคนที่มีรายได้น้อยมีโอกาสน้อยในการเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็น เช่น การศึกษา การรักษาพยาบาล และการทำงานที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถนำไปสู่ความยากจนและคุณภาพชีวิตที่ต่ำลง 
  2. ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม: เมื่อมีความเหลื่อมล้ำสูง จะเกิดความไม่เสมอภาคในการกระจายรายได้และโอกาส ซึ่งจะทำให้บางกลุ่มได้รับประโยชน์มากกว่ากลุ่มอื่นๆ และทำให้เกิดความตึงเครียดทางสังคม
  3. การเข้าถึงการศึกษาและสาธารณสุข: ความเหลื่อมล้ำมีผลกระ ทบโดยตรงต่อการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและการศึกษาซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของบุคคลและการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
  4. การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ: ความเหลื่อมล้ำที่สูงอาจลดทอนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเนื่องจากการที่คนบางกลุ่มไม่สามารถมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้เต็มที่ และสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เสถียร
  5. การมีส่วนร่วมและความยุติธรรม: การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม ความเหลื่อมล้ำที่สูงจะทำให้การมีส่วนร่วมนี้เป็นไปได้ยาก และยังทำให้ความยุติธรรมและความเสมอภาคในสังคมลดลง
  6. สันติภาพและเสถียรภาพทางสังคม: ความเหลื่อมล้ำสามารถเป็นสาเหตุของความขัดแย้งและความไม่สงบทางสังคม ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างยั่งยืน จึงจำเป็นต้องมีการลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และสุขภาพ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสังคมที่เสมอภาคและเป็นธรรม และด้วยความร่วมมือกันระหว่างหกสถาบัน จึงนำมาสู่หัวข้อของการสัมมนาวิซาการในวันพุธที่ 19 มิถุนายน 2567 คือ "สานพลัง ลดความเหลื่อมล้ำ นำไทยยั่งยืน" (Driving Thailand's Equality and Sustainability) คณะนักศึกษาหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง 6 สถาบัน เชื่อมั่นว่า พลังแห่งความร่วมมือจะเป็นรากฐานสำคัญให้สังคมร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยให้ 'มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน' ตามยุทธศาสตร์ซาติ 20 ปี ต่อไป

#วิทยาลัยการเมืองการปกครอง #วิทยาลัยการเมืองการปกครอง


Share :

กลับไปหน้าหลัก

สถาบันพระปกเกล้า