ภาพกิจกรรม

หน้าแรก | ข่าวสาร

เสวนา การตลาดการเมืองกับสื่อสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์ในการเลือกตั้ง


เมื่อวันที่ 10 ก.ย.67 : สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย ร่วมกับคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนา เรื่อง “การตลาดการเมืองกับสื่อสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์ในการเลือกตั้ง” โดยเป็นการนำเสนอจากงานวิจัย โดย รศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ ดร.ณฐิญาณ์ งามขำ , อ.ภิรมณ เชิญขวัญ และ คุณอัญชลี อ่อนศรีทอง ดำเนินรายการโดย คุณภูริภัทร์ เครือนพรัตน์  นักวิชาการจากสถาบันพระปกเกล้า

เวทีเสวนาดังกล่าว เป็นการนำเสนองานวิจัยผ่านการวิเคราะห์ข้อมูล การเข้าถึงโซเชียลมีเดียของแต่ละพรรคการเมือง การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในแคมเปญการเมืองมีบทบาทที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย พรรคการเมืองต่าง ๆ เช่น พรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย และพรรคอื่น ๆ ได้ใช้แพลตฟอร์มเช่น Facebook, Twitter, และ TikTok ในการสร้างกระแสนิยมและการสื่อสารกับประชาชน 

การเปลี่ยนแปลงนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของสื่อสังคมออนไลน์ในการสร้างภาพลักษณ์และการกระจายข้อมูลของพรรคการเมือง ซึ่งส่งผลต่อผลการเลือกตั้งอย่างมีนัยสำคัญ 

ซึ่งแต่ละพรรคการเมืองมีแนวทางที่แตกต่างกันในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อหาเสียง พรรคก้าวไกลให้ความสำคัญกับการสื่อสารที่ทรงพลังและการมีส่วนร่วมของประชาชน ในขณะที่พรรคเพื่อไทยใช้กลยุทธ์ที่ผสมผสานทั้งการลงพื้นที่และการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ ต่างจากพรรคพลังประชารัฐและพรรคภูมิใจไทยที่มุ่งเน้นการใช้สื่อแบบดั้งเดิมมากกว่า โดยเฉพาะการสื่อสารผ่านสำนักข่าวและอินฟลูเอนเซอร์

ผลจากการศึกษาพบว่า แม้ว่าสื่อสังคมออนไลน์จะมีบทบาทสำคัญในการหาเสียงและการสร้างกระแสนิยม แต่การชนะการเลือกตั้งไม่ได้ขึ้นอยู่กับสื่อออนไลน์เพียงอย่างเดียว ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองยังคงมีอิทธิพลสำคัญต่อผลลัพธ์ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพจึงต้องผสมผสานกับการสื่อสารในโลกออฟไลน์และยุทธศาสตร์อื่น ๆ อย่างรอบคอบ

ข้อมูลและภาพจากสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย

ติดตามรับชมย้อนหลังได้ตามลิงก์ https://fb.watch/uzUe6GZpeI/

#สื่อสังคมออนไลน์ #การเลือกตั้ง #สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย #สถาบันพระปกเกล้า


Share :

กลับไปหน้าหลัก

สถาบันพระปกเกล้า