ภาพกิจกรรม

หน้าแรก | ข่าวสาร

เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้ากล่าวปรากฎการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นได้สร้างความท้าทาย เปลี่ยนแปลง เร่งการปรับตัวของสังคมและประเทศไทย


            เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2563 ที่สถาบันพระปกเกล้า ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย (เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า)ได้กล่าวบรรยายพิเศษเรื่อง "สังคมไทย ได้อะไรจากโควิด-19” ในพิธีปัจฉิมนิเทศนักศึกษาและปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารงานภาครัฐและกฏหมายมหาชน (ปรม.) รุ่นที่ 19 ให้นักศึกษาปรม.19 สถาบันพระปกเกล้าได้โดยกล่าวถึงการเกิดขึ้นของโรค COVID-19 ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดและส่งผลกับประเทศไทยต้องรับมือ แก้ไข รับมือ เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ระบบสุขภาพ และความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างมาก ถือเป็นการ disruptive สิ่งที่เคยมี เคยเป็น ของสังคมไทย

          ซึ่งการจัดการต่อสถานการณ์ Covid-19 สังคมไทยเราได้เห็นการจัดการ หรือมาตรการใหม่ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลง “คิดใหม่” ที่ปรับตัวทั้งในแง่ของการจัดการ ออกแบบระบบการจัดการทั้งแบบWork From Home, การประชุม Online, เกิดวิถีใหม่ (New Normal)  COVID-19 ขยายภาพอะไรในสังคมไทย? COVID-19 ได้ส่งผลกระทบหลายมิติต่อสังคมที่เศรษฐกิจถดถอย สภาพสิ่งแวดล้อม,ขยายความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทั้งเชิงเศรษฐกิจ บริการสุขภาพ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่มีโอกาสแตกต่างกัน โดยประชาชนได้รับผลกระทบทั้งภาคบริการ ภาคท่องเที่ยว สุขภาพ ในแง่รายได้ ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น เกิดการปฎิรูปสู่Digital การจัดการเชิงพื้นที่ลำบากขึ้น สังคมจำเป็นต้องมีการปรับตัวในวิถีชีวิต เกิดความสำคัญของระบบสาธารณสุข และสุขภาพจากรากฐานแรก การตัดสินของผู้นำทั้งระดับนโยบายในทุกระดับของสังคมต้องอยู่ภายใต้ข้อมูลและหลักวิชาการ

          ในส่วนของภาครัฐ ผลของ COVID-19 ทำให้ภาครัฐเกิดการปรับตัวทั้งนโยบาย, การทำงานบริหารงานภาครัฐและระบบให้บริการประชาชนจากเดิมสู่การใช้ระบบdigital, new normal มากขึ้น และขนาดเดียวกันรัฐต้องมีมุมมองการปรับตัวใหม่ รัฐต้อง แก้ปัญหาที่มองปัญหาจากCOVID-19 ที่กระทบสังคมไทยที่มิติซับซ้อน ลึกซึ้ง หลายชั้นให้เชื่อมโยงและสัมพันธ์ในทุกมิติ ไม่งั้นความไม่เท่าเทียม เหลื่อมล้ำ ไม่เสมอภาคจะขยายมากขึ้นในสังคม

         เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า มองว่าสังคมไทยต้องให้ความสำคัญกับการปรับตัวการจัดการใหม่ ที่COVID-19 และให้ความสำคัญกับพื้นที่และชุมชน ได้มีบทพิสูจน์แล้วในเรื่องพลังการมีส่วนร่วม ความเข้มแข็งในสังคม/ชุมชน (ระดับพื้นที่) ประชาคม ประชาชนในพื้นที่ที่มีส่วนสำคัญในการป้องกันPrevention โรคCOVID-19 และเป็นกลไกสำคัญต่อระบบสุขภาพ (เช่น อสม.ถือเป็น Human Capital มีความสำคัญมาก) การจัดการในพื้นที่สามารถ”ตอบโจทย์”แก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ รัฐต้องให้ความสำคัญกับการสนับสนุนพื้นที่สุขภาวะและสภาพแวดล้อมที่สร้างเครือข่ายความเข้มแข็งของสังคม

สรุป:สังคมไทยควรทบทวนอะไร?

         ศ.วุฒิสาร สรุปว่า ควรทบทวนมาตรฐานการควบคุมโรคและสุขอนามัย, ทักษะใหม่ที่ต้องการในโลกอนาคต, วิถีชีวิตการทำงานแบบใหม่, ความมั่นคงทางอาหาร, พลังอาสาและเอื้ออาทร,โอกาสการเกิดการทำธุรกิจแนวใหม่,การสร้างพื้นฐานdigitalของประเทศ ซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญของการลดการขยายความเหลื่อมล้ำของสังคมไทยและเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารงานภาครัฐหลังการเกิดCOVID-19 ให้ดียิ่งขึ้น

         นอกจากการบรรยายพิเศษแล้ว รศ.ดร นฤมล นิราทร ได้สรุปการประเมินผลการเรียนการสอน หลักสูตรปรม.19 และมีรองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า (อ.วิทวัส ชัยภาคภูมิ) และผอ.หลักสูตร ผศ. ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยาได้ร่วมในพิธีปัจฉิมนิเทศและร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกับนักศึกษาปรม.19 ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรในครั้งนี้ด้วย


Share :

กลับไปหน้าหลัก

สถาบันพระปกเกล้า