หน้าแรก | คลังความรู้
รายงานสรุปผลการสัมมนาระดมความคิดเห็น ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ : เครื่องมือภาครัฐ – กลไกภาคประชาชน เพื่อการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณค่าและความหมาย
จัดทำโดย
สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า
สำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา สถาบันพระปกเกล้า
“การมีส่วนร่วมของประชาชน” เป็นกลไกสำคัญที่รัฐเสรีประชาธิปไตยทั้งหลายประยุกต์ใช้กลไกดังกล่าว ซึ่งมีมากกมายหลากหลายรูปแบบเพื่อใช้ให้สอดคล้องกับโครงสร้างการปกครอง และบริบทสังคมวิทยาการเมืองของแต่ละประเทศ เช่นเดียวกับประเทศไทย กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา รัฐธรรมนูญมี เจตนารมณ์และหลักการเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมไว้อย่างชัดเจน ทั้งการมีส่วนร่วมในการตรากฎหมาย การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การมีส่วนร่วมของประชาชนในอีกมิติคือสิทธิของประชาชน ในขณะที่เป็นหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ ดังปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย หมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย ประกอบหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ กล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญกาหนดโครงสร้างการมีส่วนร่วมในลักษณะ “หุ้นส่วน” ระหว่างหน่วยงานของรัฐ และประชาชนกับชุม เพื่อให้กระบวนการนโยบายและกฎหมายตอบสนองต่อประเด็นปัญหาและความต้องการของสังคม