หนังสือและบทความ

หน้าแรก | คลังความรู้

คุณภาพสังคมและความเป็นประชาธิปไตยกับความสุขของคนไทย




เรื่อง คุณภาพสังคมและความเป็นประชาธิปไตยกับความสุขของคนไทย
โดย ดร.ถวิลวดี บุรีกุล และ นางสาวรัชวดี แสงมหะหมัด

         บทความนี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง คุณภาพสังคมและการเป็นประชาธิปไตยกับความสุขของคนไทยโดยศึกษาว่าสองปัจจัยข้างต้นนี้ทำให้เกิดความสุขในกลุ่มประชาชนชาวไทยหรือไม่มากน้อยเพียงใด โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องคุณภาพสังคม 4 ครั้งที่ผ่านมาของสถาบันพระปกเกล้า ตั้งแต่พ.ศ. 2552-2559 ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างตามความน่าจะเป็น มาช่วยอธิบายโดยยึดแนวคิดทฤษฎีทางด้านคุณภาพสังคมบนพื้นฐานของมิติความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม ความสมานฉันท์ทางสังคม การยอมรับกันทางสังคม และการสร้างพลังทางสังคม ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการทำให้คนไทยรู้สึกว่ามีความสุขก็คือ การมีชีวิตอยู่ในสังคมที่มีคุณภาพ และรู้สึกว่าอยู่ในสังคมที่เป็นประชาธิปไตย ทั้งนี้ ปัจจัยด้านคุณภาพสังคมที่สำคัญต่อความสุขของคนไทย คือสถานะทางด้านเศรษฐกิจของครอบครัว การไม่ถูกเลือกปฏิบัติ หรือได้รับความเสมอภาค และการได้รับโอกาสทางสังคม การเปิดโอกาสในการมีส่วนร่วมโดยเฉพาะการแสดงออกทางการเมือง มีการรับฟังสื่อ มีการเข้าถึงสื่อ และการสัมผัสมรดกทางวัฒนธรรมที่ได้รับการดูแลที่ดี ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างพลังทางสังคม ผลการศึกษาจะนำไปสู่การเสนอทางออกเพื่อทำให้คนไทยมีความสุข ประเทศไทยมีสันติสุขที่มาจากการมีสังคมที่มีคุณภาพ สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีและทำให้การก้าวย่างของประชาธิปไตยมีความหมายสำหรับคนไทยทุกคน

คุณภาพสังคมและความเป็นประชาธิปไตยกับความสุขของคนไทย (47 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

ยุทธศาสตร์ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 2 ( ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2569)

ดาวน์โหลด 23 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สูจิบัตรรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2554

ดาวน์โหลด 31 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

หนึ่งทศวรรษแห่งการปฏิรูปการเมือง ผลงาน ปัญหา และอุปสรรค์

ดาวน์โหลด 21 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า