หนังสือและบทความ

หน้าแรก | คลังความรู้

การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดขอนแก่น




เรื่อง การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดขอนแก่น
ผู้เขียน ศิวัช ศรีโภคางกุล
เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (e-book) 978-616-476-092-9
รหัสสิ่งพิมพ์สถาบัน สวพ.63-14-00.0 (ebook)

        พรรคเพื่อไทยสามารถชนะการเลือกตั้งแทบจะยกทั้งจังหวัดขอนแก่นเรื่อยมาตั้งแต่สมัยเป็นพรรคไทยรักไทยจนถึงพรรคพลังประชาชน อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่มีการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคมพ.ศ. 2557 เป็นต้นมา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้บริหารประเทศเป็นเวลากว่าห้าปี ก่อนจะยินยอมให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 รายงานวิจัยนี้จึงศึกษาความคิดและพฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในจังหวัดขอนแก่น เพื่อพิจารณาว่า สถานการณ์การเมืองที่เปลี่ยนไปตลอดห้าปีที่ผ่านมา รวมถึงการประสบพบเจอกับปัจจัยใหม่ๆ จำนวนมาก ชาวขอนแก่นยังคงรักและศรัทธาในพรรคเพื่อไทยเหมือนเดิมหรือไม่ หรือถ้าใช่หรือไม่ใช่ จะอยู่บนพื้นฐานเหตุผลใด โดยผู้วิจัยอาศัยการศึกษาเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นทั้ง 10 เขตเลือกตั้ง ผลการศึกษาพบว่า ปรากฏการณ์และกติกาจำนวนมากก่อนการเลือกตั้งถูกออกแบบไว้เพื่อให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ครองความได้เปรียบ ในการเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป ในส่วนผลการเลือกตั้ง 10 เขตของจังหวัดขอนแก่นนั้น แม้พรรคพลังประชารัฐจะสามารถชนะได้ในเขตที่ 2 แต่รายงานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า คนขอนแก่นส่วนใหญ่ยังผูกพันกับพรรคการเมืองที่สนับสนุนฝ่ายประชาธิปไตย

  • หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คลิกที่นี่ (eBook)
  • การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 รวมทุกจังหวัด คลิกที่นี่
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดขอนแก่น (41 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

ยุทธศาสตร์ประเทศไทยในมิติการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการบริหารระบบราชการ

ดาวน์โหลด 0 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

แนวความคิดและหลักการว่าด้วยการละเมิดอำนาจรัฐสภา เอกสารวิชาการและบทความ

ดาวน์โหลด 55 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

กฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดให้รัฐเข้าถึง หรือได้มาซึ่งข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกัน : กรณีศึกษาประเทศสหรัฐอเมริกา

ดาวน์โหลด 49 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า