หนังสือและบทความ

หน้าแรก | คลังความรู้

การชุมนุมสาธารณะ : ดุลยภาพที่ยังไม่ลงตัวระหว่างเสรีภาพกับการจำกัดการชุมนุม




การชุมนุมสาธารณะ  :  ดุลยภาพที่ยังไม่ลงตัวระหว่างเสรีภาพกับการจำกัดการชุมนุม

            ภายหลังจากที่พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2558 และมีผลบังคับใช้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีความพยายามในการใช้เสรีภาพในการชุมนุมเกิดขึ้นทั่วประเทศหลายครั้ง ซึ่งมีทั้งที่การชุมนุมสาธารณะเกิดขึ้นได้ และถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐห้ามการชุมนุมโดยอ้างกฎหมายการชุมนุมสาธารณะดังกล่าว เหตุผลของเจ้าหน้าที่รัฐที่นำมาใช้ในการควบคุมและจากัดการชุมนุมดังกล่าว เน้นไปที่การกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 อาทิ การห้ามการยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเนื่องจากกฎหมายห้ามชุมนุมในสถานที่ราชการ การห้ามไม่ให้เยาวชนจัดค่ายเนื่องจากเป็นภัยต่อความมั่นคง การให้ยกเลิกการชุมนุมเนื่องจากไม่ได้แจ้งล่วงหน้าและกีดขวางทางเข้า-ออกสถานที่ราชการ การห้ามจัดกิจกรรมคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญที่หอศิลป์ เนื่องจากอยู่ในรัศมีวังสระปทุม การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจขอเจรจาเพื่อไม่ให้นักกิจกรรมเดินขบวนในกิจกรรมชุมนุมราลึก 42 ปี 14 ตุลาฯ อย่างไรก็ตามสุดท้ายเกิดการเจรจากัน ทำให้ตำรวจใช้วิธีประกบผู้ชุมนุมด้านข้างแทน การที่กระทรวงแรงงานไม่อนุญาตให้คนงานจากสหภาพแรงงานค้างคืนที่บริเวณใต้ถุนกระทรวงแรงงาน เนื่องจากกฎหมายห้ามชุมนุมในสถานที่ราชการ จึงแจ้งให้ออกไปชุมนุมที่บริเวณภายนอกกระทรวงแรงงาน การถูกสั่งปรับ 200 บาทจากการใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้แจ้งก่อนต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ฯลฯ

การชุมนุมสาธารณะ : ดุลยภาพที่ยังไม่ลงตัวระหว่างเสรีภาพกับการจำกัดการชุมนุม (40 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

โครงการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ดาวน์โหลด 21 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

10 ปัญหาสู่นโยบายสาธารณะ

ดาวน์โหลด 1027 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สัมมนา เรื่อง ทิศทางการจัดการความขัดแย้งของสังคมไทย

ดาวน์โหลด 127 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า