หนังสือและบทความ

หน้าแรก | คลังความรู้

ร่ายรัฐธรรมนูญ : ที่มา หลักการ และความสำคัญ




ชื่อเรื่อง ร่ายรัฐธรรมนูญ : ที่มา หลักการ และความสำคัญ
โดย อรรถสิทธิ์ พานแก้ว และวรศักดิ์ จันทร์ภักดี

         “ร่าย” ถือเป็นบทประพันธ์มีฉันทลักษณ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความเก่าแก่และอยู่คู่งานวรรณกรรมไทยมาอย่างยาวนาน บทร่ายนั้นมีทั้งความเรียบง่ายและแฝงความซับซ้อนเอาไว้ในห้วงขณะเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อสืบย้อนไปในอดีตที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ในสถานะสมมติเทพนั้น บทร่ายมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการเมืองของราชสำนัก เนื่องจากบทร่ายมักจะปรากฏในพระบรมราชโองการหรือกฎหมายที่สำคัญต่าง ๆ เช่น โองการแช่งน้ำ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ต้องการ “ความศักดิ์สิทธิ์”เนื่องจากในบริบทสังคมไทยในอดีตกาลนั้น มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้กุมอำนาจสูงสุด สามารถออกกฎระเบียบต่าง ๆ ตลอดจนระงับยับยั้งโทษทัณฑ์อีกนานัปการ ซึ่งอาศัยความเป็น “สมมติเทพ”เป็นที่มาของอำนาจ ที่ทำให้ทุกอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามพระราชประสงค์ และทุกอย่างที่มาจากพระมหากษัตริย์จะต้องมีความศักดิ์สิทธิ์ทั้งสิ้น บทร่ายที่ปรากฏในฐานะพระราชโองการก็ดี พระราชบัญญัติก็ดี จึงมีความศักดิ์สิทธิ์ตามไปด้วย ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าว หากพิจารณาในสภาวะสมัยใหม่ (Modernity) ก็คือ การมีสภาพบังคับใช้ (Enforcement) นั่นเอง

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ
National Library of Thailand Cataloging in Publication Data
อรรถสิทธิ์ พานแก้ว.
ร่ายรัฐธรรมนูญ: ที่มา หลักการ และความสำคัญ.—กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, --
(2560). 380 หน้า 
1.รัฐธรรมนูญ--ไทย. I. วรศักดิ์ จันทร์ภักดี, ผู้แต่งร่วม 1. ชื่อเรื่อง 
342.593
ราคา 260 บาท
ISBN : 978-974-449-975-2

จัดพิมพ์โดย
สถาบันพระปกเกล้า
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ฝั่งทิศใต้
เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ
แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพ 10210
http://www.kpi.ac.th

หนังสือจำหน่าย
ติดต่อสอบถาม ศูนย์หนังสือสถาบันพระปกเกล้า
โทรศัพท์ 0-2143-9231

ตัวอย่างหน้าปก (11 ครั้ง) ดาวน์โหลด
บทนำ ร่ายรัฐธรรมนูญ (49 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

ปรับเมืองเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design)สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ดาวน์โหลด 60 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การศึกษาพฤติกรรมความเป็นพลเมืองสำหรับสังคมไทย

ดาวน์โหลด 97 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530

ดาวน์โหลด 70 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า