หนังสือและบทความ

หน้าแรก | คลังความรู้

ประชาเสวนา (Citizen Dialogue) กับการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและจริยธรรม

ธรรมาภิบาล 01 ตุลาคม 2562



อภิญญา ดิสสะมาน
นักวิชาการ สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล
สถาบันพระปกเกล้า
             “การประชาเสวนา” หรือที่เราเรียกกันว่า Citizen Dialogue มีความหมายโดยกว้างคือ การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนโดยแท้จริง โดยผ่านกระบวนการพูดคุยแลกเปลี่ยนจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่หลากหลายและเป็นการรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างกันจากหมากหลายมุมมอง ดังนั้น การประชาเสวนาจึงเป็นการรับฟังพูดคุยความคิด เรียนรู้ระหว่างกันของประชาชนโดยตรง โดยมีการเสวนาอย่างจริงจังจากกลุ่มย่อยแล้วนำเสนอความคิดเห็นสู่กลุ่มใหญ่ ก่อนที่จะได้ภาพในอนาคตร่วมกันจากฉันทมติในทุกระดับ
วิธีการประชาเสวนาเป็นเวทีที่มีคุณค่ามากกว่ากระบวนการสำรวจความคิดของประชาชน ( Poll Watch ) ในประเทศแคนาดาได้นำไปใช้ในการหาข้อสรุปในประเด็นยากๆ ที่มีความเห็นแตกต่างและเป็นเรื่องที่อาจจะต้องมีการได้บางอย่างเสียบางอย่าง กระบวนการนี้สามารถสำรวจค่านิยมของประชาชนและทางเลือกที่ชอบมากกว่า เมื่อได้รับคำถามที่ยากต่อการตัดสินใจ
                 การประชาเสวนาความสำคัญอย่างไรในการสร้างเสริมธรรมาภิบาลขององค์กร
ตามที่ได้กล่าวในข้างต้นแล้วว่า การประชาเสวนา คือกระบวนการมีส่วนร่วมจากประชาชนโดยตรง ในทุกระดับเพื่อสร้างอนาคตที่ดีร่วมกัน หลักการสำคัญ คือ ทำอย่างไรให้เสียง ความต้องการหรือความคิดเห็นของประชาชนในทุกระดับได้รับการรับฟัง (To Be Heard) และหาทางออกร่วมกันในการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง ทั้งนี้ เพื่อนำมาปรับปรุงและพันนาแนวนโยบายหรือโครงการที่กำลังดำเนินการให้ทุกฝ่ายยอมรับโดยทั่วกัน อาจจะกล่าวได้ว่า กระบวนการประชาเสวนา เป็นกลไกหนึ่งในการสร้างธรรมาภิบาลให้แก่องค์กร

ประชาเสวนา (Citizen Dialogue) กับการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและจริยธรรม (32 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : "รับ" และ "รุก" อย่างไร

ดาวน์โหลด 16 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชน โดย วีระ สมความคิด

ดาวน์โหลด 230 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การสร้างดุลยภาพระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร

ดาวน์โหลด 32 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า