หนังสือและบทความ

หน้าแรก | คลังความรู้

จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ




            ไอร์แลนด์เหนือตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์และอยู่ทางฝั่งตะวันออก ของอังกฤษ ในช่วงศตวรรษที่ 16 ชาวอังกฤษและสก็อตแลนด์ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์จำนวนมากเริ่ม ที่จะเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์นี้ตามนโยบาย “Plantation of Ulster” ซึ่งมีประชากรดั้งเดิมเป็นชาวไอริชที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก ทำให้ชุมชนเดิมในพื้นที่รู้สึกว่าตนเองถูกขโมยดินแดนไป ตั้งแต่นั้นมาการต่อต้านที่จะมีอิสระในการปกครองตนเอง (Home Rule) จากอังกฤษโดยชาวไอริชก็เริ่มทวีความเข้มข้นมากขึ้น จนกระทั่งในปี 1921 อังกฤษและไอร์แลนด์ได้มีการลงนามในสนธิสัญญา Government of Ireland Act ที่ยินยอมให้ 26 แคว้นบนเกาะไอร์แลนด์แยกตัวเป็นรัฐอิสระไอร์แลนด์ ในขณะที่อีก 6 แคว้นทางตอนเหนือของเกาะจะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรต่อไป แม้จะได้รับอนุญาตให้มีสภาเป็นของตนเองก็ตาม การแบ่งประเทศครั้งนี้ทำให้ไอร์แลนด์เหนือซึ่งมีประชากรที่เป็นโปรเตสแตนท์ ประมาณร้อยละ 60 และอีกร้อยละ 40 เป็นคาทอลิก กลายเป็นพื้นที่แห่งความขัดแย้งรุนแรงระหว่างกลุ่ม Unionist ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรเตสแตนท์ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษต่อไป กับกลุ่ม Nationalist ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคาทอลิกที่ต้องการแยกตัวเป็นอิสระออกจากอังกฤษเพื่อผนวก เข้ากับสาธารณรัฐไอร์แลนด์

กลุ่ม Unionist ซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่ในไอร์แลนด์เหนือกุมอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมมาเกือบห้าสิบปี จนกระทั่งในปี 1968 ได้เกิดการประท้วงเดินขบวนเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมทางสังคม รวมทั้งให้ยุติการกดขี่กีดกันชาวคาทอลิก การประท้วงได้ขยายตัวเป็นความรุนแรงจากการปะทะกันระหว่างกองกำลังประชาชนสอง ฝ่าย ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในไอร์แลนด์เหนือนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อของ “The Troubles” ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตกว่า 3,600 ชีวิตและต่อร่างกายและจิตใจอีกหลายหมื่นคนในระยะเวลา 30 ปี

            ในปี 1998 ทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงสันติภาพจากความพยายามในการแก้ไขปัญหาทางการ เมืองด้วยสันติวิธี โดยมีเนื้อหาหลักให้รัฐบาลอังกฤษถ่ายโอนอำนาจ (Devolution) ในการปกครองให้แก่คณะผู้บริหารและสภาของไอร์แลนด์เหนือซึ่งมีลักษณะเป็นการ แบ่งสรรอำนาจ (Power-Sharing) ระหว่างพรรคการเมืองหลักของทั้งสองฝ่าย

จากสงครามสู่สมานฉันท์ – ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ (44 ครั้ง) ดาวน์โหลด
สรุปการสัมมนานานาชาติ (TH) (59 ครั้ง) ดาวน์โหลด
สรุปการสัมมนานานาชาติ (EN) (33 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาอนาคตและฉากทัศน์การเมืองไทยเพื่อสร้้างประชาธิปไตยที่ยั่งยืน ในมิติของสถาบันการเมือง (รัฐสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา)

ดาวน์โหลด 31 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ประเทศเชคโกสโลวาเกีย (พ.ศ.2477)

ดาวน์โหลด 12 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถานการณ์การกระจายอำนาจ ปี 2560

ดาวน์โหลด 53 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า