หนังสือและบทความ

หน้าแรก | คลังความรู้

บทบาทของประชาสังคมที่มีผลต่อการเมืองในด้านการเลือกตั้งของประเทศไทย




ศาสตราจารย์ โรเบิร์ต บี อัลบริททัน และ ดร. ถวิลวดี บุรีกุล "...แนวคิดเกี่ยวกับประชาสังคม (Civil Society) ที่ได้นำมาใช้เป็นกฏเกณฑ์ทางรัฐศาสตร์นั้นมีความคลุมเครือเป็นอย่างมาก โดยความคลุมเครือดังกล่าวนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเริ่มต้นที่มาจากความเคลื่อนไหวในการปฏิวัติเพื่อต่อต้านระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย แนวคิดนี้ได้กลายเป็นปัญหามากขึ้น ในบริบทของการสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบอบประชาธิปไตย ถึงแม้ว่า Linz และ Stepan (2001) ได้เสนอว่า จะต้องมีเงื่อนไขสำหรับ “ประชาสังคม ที่เป็นอิสระและความคงอยู่” เพื่อที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของ Bernan (1997) นั้นขัดแย้งกับคำยืนยันของ Schnitter (1997) ที่ว่า ประชาสังคมนั้นมีส่วนช่วยในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบอบประชาธิปไตย โดย Bernan แย้งว่า ในระบอบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยอยู่แล้ว ประชาสังคมอาจเป็น พื้นฐานในการที่จะจัดตั้งระบอบการปกครองแบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ เช่นยุคของนาซีในเยอรมนี ในสมัยสาธารณรัฐไวมาร์ (Weinar Republic) ก็ได้ ความคลุมเครืออีกประการหนึ่งของแนวคิดนี้ มาจากการที่แนวคิดนี้เหลื่อมกับแนวคิด “ต้นทุนทางสังคม” โดย Putnan (2000) ได้อธิบายถึงการมีส่วนร่วมในกลุ่มและการเคลื่อนไหวที่มีการจัดตั้งว่า เป็นรูปแบบหนึ่งของต้นทุนทางสังคมและปรากฏการณ์นี้ดูเหมือนจะมีความคล้ายคลึงกันอย่างน่าสังเกต กับคำอธิบายของ Linz และ Stepan (2001) เกี่ยวกับประชาสังคม1 ในหลายๆ ทางดูเหมือนว่า ประชาสังคมนี้ คือ รูปแบบหนึ่งของต้นทุนทางสังคม โดยแนวคิดหลังนี้จะรวมถึงสินทรัพย์อื่นๆ ของสังคม เช่น ระดับการศึกษาและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในสังคม..."

ศาสตราจารย์ โรเบิร์ต บี อัลบริททัน และ ดร. ถวิลวดี บุรีกุล
           "...แนวคิดเกี่ยวกับประชาสังคม (Civil Society) ที่ได้นำมาใช้เป็นกฏเกณฑ์ทางรัฐศาสตร์นั้นมีความคลุมเครือเป็นอย่างมาก โดยความคลุมเครือดังกล่าวนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเริ่มต้นที่มาจากความเคลื่อนไหวในการปฏิวัติเพื่อต่อต้านระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย แนวคิดนี้ได้กลายเป็นปัญหามากขึ้น ในบริบทของการสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบอบประชาธิปไตย ถึงแม้ว่า Linz และ Stepan (2001) ได้เสนอว่า จะต้องมีเงื่อนไขสำหรับ “ประชาสังคม ที่เป็นอิสระและความคงอยู่” เพื่อที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของ Bernan (1997) นั้นขัดแย้งกับคำยืนยันของ Schnitter (1997) ที่ว่า ประชาสังคมนั้นมีส่วนช่วยในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบอบประชาธิปไตย โดย Bernan แย้งว่า ในระบอบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยอยู่แล้ว ประชาสังคมอาจเป็น พื้นฐานในการที่จะจัดตั้งระบอบการปกครองแบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ เช่นยุคของนาซีในเยอรมนี ในสมัยสาธารณรัฐไวมาร์ (Weinar Republic) ก็ได้
ความคลุมเครืออีกประการหนึ่งของแนวคิดนี้ มาจากการที่แนวคิดนี้เหลื่อมกับแนวคิด “ต้นทุนทางสังคม” โดย Putnan (2000) ได้อธิบายถึงการมีส่วนร่วมในกลุ่มและการเคลื่อนไหวที่มีการจัดตั้งว่า เป็นรูปแบบหนึ่งของต้นทุนทางสังคมและปรากฏการณ์นี้ดูเหมือนจะมีความคล้ายคลึงกันอย่างน่าสังเกต กับคำอธิบายของ Linz และ Stepan (2001) เกี่ยวกับประชาสังคม1 ในหลายๆ ทางดูเหมือนว่า ประชาสังคมนี้ คือ รูปแบบหนึ่งของต้นทุนทางสังคม โดยแนวคิดหลังนี้จะรวมถึงสินทรัพย์อื่นๆ ของสังคม เช่น ระดับการศึกษาและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในสังคม..."

บทบาทของประชาสังคมที่มีผลต่อการเมืองในด้านการเลือกตั้งของประเทศไทย (45 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

โครงการเยาวชนสร้างสรรค์ นวัตกรรมท้องถิ่น ประจำปี 2552

ดาวน์โหลด 87 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2558

ดาวน์โหลด 47 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สูจิบัตรรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2558

ดาวน์โหลด 980 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า