หนังสือและบทความ

หน้าแรก | คลังความรู้

การเมืองไทยร่วมสมัย




หัวเรื่อง : การเมืองไทยร่วมสมัย

โดย ผศ. ดร. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

          หนังสือที่อธิบายประวัติศาสตร์การเมืองไทยหลังการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 จนถึงปัจจุบันในฉบับย่อ เพื่อให้ผู้สนใจการเมืองไทยได้ทำความเข้าใจโดยใช้เวลาไม่นาน ทั้งนี้ เพื่อจะได้เห็นพัฒนาการใน ภาพรวม ตลอดจนประเด็นที่เป็นปมปัญหาการเมืองในช่วงกว่าแปดทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยมี ความผันผวน และมีห้วงเวลาที่ความทรงจำบางส่วนถูกปรับเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขของการเมือง ภายในแบ่งออกเป็น 6 บท ซึ่งกล่าวถึง การเมืองไทยในช่วงเวลาต่างๆ นับตั้งแต่ภูมิหลัง การเมืองไทยยุคก่อนรัตนโกสินทร์ ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาจนถึงสมัยประชาธิปไตย การเมืองไทยในช่วงปฏิวัติสยาม คณะราษฎร กบฏในยุคนั้น และห้วงเวลาของการเมืองในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากนั้นเป็นช่วงการเมืองไทยในยุคต่างๆ นับตั้งแต่ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เรื่อยมาจนกระทั่งการเมืองไทยในยุคที่มีความขัดแย้งทางการเมือง 14 ตุลา 6 ตุลา พฤษภาทมิฬ ในปี 2535 การเมือง จวบจนถึงยุคประชาธิปไตย กระทั่งยุคหลังที่เป็นความขัดแย้งทางการเมือง ยุคปฏิรูปการเมือง เรื่อยมาจนถึงรัฐประหารใน พ.ศ. 2549 และ 2557 ตามลำดับ และการร่างรัฐธรรมนูญหลังปี 2557 เหมาะสำหรับผู้สนใจการเมืองไทยเบื้องต้น อย่างไรก็ดีผู้เขียนได้พยายามอธิบายภาพรวมของการเมืองไทยในพื้นที่อันจำกัดย่อมมีรายละเอียดทางประวัติศาสตร์จำนวนมากที่ถูกตัดทอนไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งผู้ได้รวบรวมบรรณานุกรมไว้ท้ายเล่ม เพื่อให้ผู้สนใจสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้

ราคา 175 บาท
ISBN 978-974-449-973-8

จัดพิมพ์โดย
สถาบันพระปกเกล้า
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ
อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 (โซนทิศใต้)
เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง
เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 http://www.kpi.ac.th
โทรศัพท์ 0-2141-9600 โทรสาร 0-2143-8181

หนังสือจำหน่าย
ติดต่อสอบถาม ศูนย์หนังสือสถาบันพระปกเกล้า
โทรศัพท์ 0-2143-9231

การเมืองไทยร่วมสมัย (คำนำ) (384 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

บทบาทของประชาสังคมที่มีผลต่อการเมืองในด้านการเลือกตั้งของประเทศไทย

ดาวน์โหลด 45 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันตุลาการไทย-ความท้าทายในการแสดงบทบาทอำนาจหน้าที่ในยุคปฏิรูปการเมืองฯ

ดาวน์โหลด 27 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

การใช้สิทธิและมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสนอร่างกฎหมายว่าด้วยชนเผ่าพื้นเมือง

ดาวน์โหลด 9 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า