งานวิจัย

หน้าแรก | คลังความรู้

พัฒนาตัวชี้วัดและวัดระดับสันติภาพในสังคมไทย พ.ศ. 2563




โครงการวิจัย พัฒนาตัวชี้วัดและวัดระดับสันติภาพในสังคมไทย พ.ศ. 2563
โดย ดร.ชลัท ประเทืองรัตนา, ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว

       รายงานวิจัยเรื่อง พัฒนาตัวชี้วัดและวัดระดับสันติภาพในสังคมไทย เรียกชื่อภาษาอังกฤษ เพื่อให้เข้าใจง่ายว่า Thai Peace Index-TPI มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 
1. พัฒนาดัชนีและตัวชี้วัด ด้านสันติภาพที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย 
2. วัดระดับสันติภาพในสังคมไทยเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้น 
3. นำผลของงานวิจัยมาแลกเปลี่ยนกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อทำให้เกิดการขับเคลื่อนงานด้านสันติภาพ
      จากการสำรวจองค์ความรู้เกี่ยวกับดัชนีและตัวชี้วัดด้านสันติภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศทำให้ทราบว่า นิยามสันติภาพซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลตั้งอยู่บนหลักการของการไม่มีสันติภาพเชิงลบและมีสันติภาพเชิงบวก กล่าวคือไม่มีความรุนแรงทางกายภาพที่ปรากฏอย่างชัดเจน มีระบบ กลไกที่ทาให้สังคมมีความสงบสุข และมีสันติภาพอย่างยั่งยืน นอกจากความหมายสันติภาพดังกล่าวแล้ว การศึกษาสันติภาพในมิติภายใน คือการเข้าใจตนเองมีความสำคัญ และการทำให้จิตใจของตนเองมีเมตตา กรุณา การเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์ จากนิยามสันติภาพของสากลดังกล่าวนำมาสู่การประยุกต์แนวคิดให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย และพัฒนาเกณฑ์ของตัวชี้วัดด้านสันติภาพให้เหมาะสม เพื่อวัดระดับสันติภาพในสังคมไทย

พัฒนาตัวชี้วัดและวัดระดับสันติภาพในสังคมไทย พ.ศ. 2563 (207 ครั้ง) ดาวน์โหลด

Share :

กลับไปหน้าหลัก

รายการที่เกี่ยวข้อง

ทัศนคติของพลเมืองและประเด็นสําคัญในการเสริมสร้างประชาธิปไตย ผลการศึกษาจากการสนทนากลุ่มกับ พลเมืองทั่วราชอาณาจักรไทยระหว่างเดือนตุลาคมและธันวาคม พ.ศ. 2565

ดาวน์โหลด 19 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

นักการเมืองและโครงสร้างอำนาจในจังหวัดสมุทรปราการ

ดาวน์โหลด 50 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

ค่านิยมของประชาชน ต่อการเมืองการปกครองและวัฒนธรรมทางสังคมไทย ปี 2557

ดาวน์โหลด 297 ครั้ง ดูเพิ่มเติม

สถาบันพระปกเกล้า